Search Result of "สวนสมรม"

About 8 results
Img
Img
Img
Img

ที่มา:วารสารการจัดการป่าไม้

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : องค์ประกอบของพรรณไม้ในสวนสมรมและเศรษฐ-สังคมของราษฎรเจ้าของสวนสมรมที่อาศัยอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร)

ผู้เขียน:Imgชาญวาณิชย์ เกิดเกษม, Imgดร.สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์, Imgดร.วุฒิพล หัวเมืองแก้ว, ศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของพรรณไม้ในสวนสมรมและเศรษฐ-สังคมของราษฎรเจ้าของสวนสมรมในท้องที่ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการตรวจนับไม้ผลรวมทั้งพืชสวนอื่นๆ และไม้ป่าในแปลงตัวอย่างขนาด 40 x 40 เมตร (1 ไร่) จำนวน 15 แปลง และข้อมูลทางด้านเศรษฐ-สังคมได้จากการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เจ้าของสวนสมรมจำนวน 15 ราย จากการศึกษาแปลงตัวอย่างพบว่าไม้ผลและพืชสวนอื่นๆ ที่เจ้าของสวนสมรมปลูกขึ้นมีจำนวนชนิดที่พบมากที่สุด 14 ชนิด น้อยที่สุด 8 ชนิด จำนวนต้นที่พบมากที่สุด 71 ต้น น้อยที่สุด 30 ต้น จำนวนชนิดไม้ผลและพืชสวนอื่นๆที่ปลูกในสวนสมรมมีทั้งสิ้น 29 ชนิด โดยมีความถี่ ? 20 พบมากที่สุดมีจำนวน 17 ชนิด และไม้ป่าที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติในสวนสมรมของแปลงตัวอย่างที่ศึกษาพบว่าจำนวนชนิดที่พบมากที่สุด 15 ชนิด น้อยที่สุด 7 ชนิด จำนวนต้นที่พบมากที่สุด 47 ต้น น้อยที่สุด 14 ต้น จำนวนชนิดไม้ป่าที่พบในสวนสมรมมีทั้งสิ้น 33 ชนิดและพรรณไม้ป่าที่พบมีความถี่ ? 20 มีมากที่สุดมีจำนวน 17 ชนิด ข้อมูลทางเศรษฐ-สังคมของราษฎรเจ้าของสวนสมรมพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน มีที่ดินทำสวนสมรมเฉลี่ย 23.40 ไร่ต่อครัวเรือน มีอาชีพหลักทำการเกษตร มีรายได้เฉลี่ย110,333.33 บาทต่อครัวเรือน โดยมีรายได้จากการทำสวนสมรมอย่างเดียวเฉลี่ย 78,000 บาทต่อครัวเรือน มีรายจ่ายเฉลี่ย 84,520 บาทต่อครัวเรือน สำหรับปัญหาที่พบในการทำสวนสมรมได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ำ ผลผลิตไม่แน่นอน เส้นทางขนส่งผลผลิตไม่สะดวก วัสดุอุปกรณ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงมีราคาสูง โรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนไม้ผลที่ปลูก และขาดแรงงานในการทำสวนสมรม การทำสวนสมรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลงได้ในระดับหนึ่ง

Article Info
วารสารการจัดการป่าไม้, Volume 2, Issue 1, Jul 07 - Dec 07, Page 46 - 56 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วารสารการจัดการป่าไม้

หัวเรื่อง:องค์ประกอบของพรรณไม้ในสวนสมรมและเศรษฐ-สังคมของราษฎรเจ้าของสวนสมรมที่อาศัยอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา สังคมศาสตร์

หัวเรื่อง:การวิเคราะห์การลงทุนทางการเงินของสวนสมรมในป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง จังหวัดชุมพร

ผู้เขียน:ImgChanwanitch Khedkasem, Imgดร.สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์, Imgดร.วุฒิพล หัวเมืองแก้ว, ศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

The principal objectives of the study were to compare the average return per fruit tree (for the duration of 25 years) among the 3 fruit tree species namely mangosteen, good variety durian and wild durian which were the intercrops species of forest trees in the natural income for covering cost of living of the people residing in Paksong subdistrict, Pha To district, Chumphon province. The using data was collected from 15 sample plots of Suan Som Rom with the size of 40 x 40 m and employed the designed questionnaire interviewed their owner. Results of the study indicated that B/C and NPV per tree of such fruit tree species at the given discount rate of 4, 8 and 12 percent were over than 1 and 0, respectively, and their IRR were over than 12 percent. The investment on mangosteen provided the highest return and the nexts were good variety durian and wild durian, respectively. In case of growing each of such fruit tree species of such fruit tree species by this system, the optimal number of trees by species which will provide the sufficient annual income were 226, 305 and 2,423 trees, respectively. On the other hand in case of growing all mentioned fruit tree species mixed together the optimal ratio and number of trees should be 3:1:2 and 22, 7 and 15, respectively. In addition, based on the opinions of the respondents, they revealed that the needed average natural forest land area per households for practicing Suan Som Rom was 7.3 rai.

Article Info
Kasetsart Journal of Social Sciences -- formerly Kasetsart Journal (Social Sciences), Volume 026, Issue 2, Jul 05 - Dec 05, Page 213 - 223 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท (จาก: บัณฑิตวิทยาลัย และ สำนักหอสมุด มก.)

หัวเรื่อง:การวิเคราะห์ทางการเงินของสวนสมรมของราษฎรที่อาศัยอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง บ้านปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

ผู้เขียน:Imgชาญวาณิชย์ เกิดเกษม

ประธานกรรมการ:Imgดร.สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์

กรรมการวิชาเอก:Imgดร.วุฒิพล หัวเมืองแก้ว, ศาสตราจารย์

กรรมการวิชารอง:Imgนางปฬาณี ฐิติวัฒนา, รองศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:Library Collection

Img

Researcher

ดร. สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์

ที่ทำงาน:ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์

สาขาที่สนใจ:การจัดการการตลาดผลิตภัณฑ์ป่าไม้, เศรษฐศาสตร์ป่าไม้, การประเมินค่าทรัพยากรป่าไม้, การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ , การจัดการทรัพยากรป่าไม้

Resume