Search Result of "ไม้แกะสลัก"

About 5 results
Img
Img

ที่มา:วารสารการจัดการป่าไม้

หัวเรื่อง:การตลาดของไม้แกะสลักในจังหวัดลำปาง

Img

ที่มา:วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท (จาก: บัณฑิตวิทยาลัย และ สำนักหอสมุด มก.)

หัวเรื่อง:การผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านหลุก อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้เขียน:Imgดาริกา มุสิกุล

ประธานกรรมการ:Imgดร.อภิชาต ภัทรธรรม, ศาสตราจารย์

กรรมการร่วม:Imgดร.สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract


Dissertation/Thesis Info
Abstract  (cache) |  Full text  (cache)  | Page  (Info)

Img

ที่มา:วารสารการจัดการป่าไม้

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : การตลาดของไม้แกะสลักในจังหวัดลำปาง)

ผู้เขียน:Imgดาริกา มุสิกุล, Imgดร.อภิชาต ภัทรธรรม, ศาสตราจารย์, Imgดร.สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดของไม้แกะสลักในจังหวัดลำปาง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูลจากผู้ประกอบการจำนวน 17 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า ในปีพ.ศ. 2550 ผู้ประกอบการทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการรายย่อยในรูปของปางไม้แกะสลัก วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการแกะสลัก คือ ไม้จามจุรี และไม้อื่นๆ เช่น นุ่น ขนุน และสัก โดยซื้อจากพื้นที่ในจังหวัดลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง เช่น สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ และตาก จำนวนวัตถุดิบที่ใช้เท่ากับ 4,000.20 ลูกบาศก์เมตร มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ขายได้เท่ากับ 80,689,525 บาท การจ้างงานเป็นการจ้างเหมาต่อชิ้นงานตามชนิดและขนาดของสินค้า เทคนิคการผลิตคือการเลียนแบบสืบทอดกันมา รูปแบบของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย ภาพลอยตัว ภาพนูนสูง งานประกอบ งานฉลุ และงานกลึง คิดเป็นร้อยละ 88.24 70.59 29.41 23.53 และ 11.76 ตามลำดับ ไม่มีการระบุตรายี่ห้อ ไม่มีการรับรองสินค้า และไม่มีการใช้บรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดราคาเองและพอใจในราคาของผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ มีบริการส่งสินค้าและให้เครดิตในการชำระเงินแก่ผู้ซื้อ โครงสร้างตลาดเป็นแบบผู้ขายน้อยราย ตลาดหลักอยู่ที่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ การขายผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นการค้าส่งโดยผลิตภัณฑ์ที่ขายยังไม่ได้มีการลงสีและไม่ได้เคลือบเงา ปัญหาและอุปสรรคด้านการผลิต ได้แก่ ราคาค่าขนส่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น การกำจัดเศษไม้และขี้เลื่อยที่เหลือหลังการแกะสลัก ขาดเงินทุนหมุนเวียน และขาดแคลนแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 88.24 83.35 64.71 และ 11.76 ตามลำดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรคด้านการตลาด ได้แก่ การไม่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มเรื่องการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ ขาดการรับรองคุณภาพการผลิตหรือคุณภาพสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการขาดความรู้และขาดงบประมาณในการส่งเสริมการตลาด และการผูกขาดกับลูกค้าประจำ ทำให้ไม่สนใจมองหาตลาดใหม่ๆ คิดเป็นร้อยละ 88.24 58.82 52.94 และ 41.18 ตามลำดับ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในพื้นที่สามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาไปใช้ประกอบการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดแนวทางด้านนโยบาย การสนับสนุน การส่งเสริม รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักในจังหวัดลำปางมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Info
วารสารการจัดการป่าไม้, Volume 6, Issue 1, Jul 09 - Dec 09, Page 56 - 66 |  PDF |  Page 

Img

Researcher

ดร. สันติ สุขสอาด, รองศาสตราจารย์

ที่ทำงาน:ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์

สาขาที่สนใจ:การจัดการการตลาดผลิตภัณฑ์ป่าไม้, เศรษฐศาสตร์ป่าไม้, การประเมินค่าทรัพยากรป่าไม้, การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ , การจัดการทรัพยากรป่าไม้

Resume