2553 (2553-2554)
ดร.ณัฐนันท์ ต.เทียนประเสริฐ, รองศาสตราจารย์
Dr Chris Brown
โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.วิเคราะห์สายพันธ์ุของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ก่อให้เกิดปัญหาในประเทศไทยด้วยเทคนิคชีวสารสนเทศ
2 วิเคราะห์หาตำแหน่งเป้าหมายของ siRNA บนเส้น HBV PRE ด้วยเทคนิคชีวสารสนเทศ
3 พัฒนาเทคนิค gene reporter assay เพื่อศึกษาหน้าที่ของหน่วยควบคุมการแสดงออกของยีน ที่เพิ่งค้นพบล่าสุดใน HBV PRE ของไวรัสตับอักเสบบี
4 สร้าง siRNA expression plasmids
5 วิเคราะห์กระบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนของหน่วยควบคุมที่ค้นพบล่าสุด ในระดับ post-transcriptional regulation
6 ตรวจสอบความสามารถในการยับยั้งการแสดงออกของ reporter ยีนด้วย siRNA ในเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B หรือ HBV) เป็นต้นเหตุหลักที่สำคัญในการก่อโรคตับ ปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบบี แต่ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส เนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยตรวจพบว่าทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของไวรัส และส่งผลให้ไวรัสดื้อยาในที่สุด ดังนั้นการคิดค้นหาแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการต้านไวรัสนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง จากการรายงานล่าสุดทราบว่าเทคนิคอาร์เอ็นเอ อินเตอร์เฟียร์เรนซ์ หรือ อาร์เอ็นเอไอ (RNAi) มีศักยภาพสูงในการรักษาโรค ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์หาตำแหน่งเป้าหมายของกลไกอาร์เอ็นไอบนหน่วยควบคุมการแสดงออกของไวรัสตับอักเสบบีที่มีชื่อว่า Post-transcriptional regulatory element หรือ HBV PRE โดยโครงการนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาหาหน้าที่ของ HBV PRE ควบคู่ไปด้วย จากการวิเคราะห์จีโนไทป์ของไวรัสตับอักเสบบีที่ก่อโรคในประเทศไทยด้วยเทคนิคชีวสารสนเทศพบว่า จีโนไทป์ที่มีการรายงานในการก่อโรคสูงสุด คือ จีโนไทป์ซี และผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของบริเวณ HBV PRE พบว่า HBV PRE ประกอบด้วยหน่วยควบคุมการแสดงออกย่อยหลายหน่วย เมื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งเป้าหมายของกลไก RNAi ด้วยโปรแกรมทำนายตำแหน่ง siRNA ทั้งหมด 11 โปรแกรมพบว่ามีบริเวณซ้อนทับของตำแหน่ง siRNA เป้าหมาย ซึ่งสามารถจัดได้เป็น 9 กลุ่ม โดยลำดับนิวคลีโอไทด์ 1317-1337 เป็นบริเวณที่ตรวจพบในทุกโปรแกรม เมื่อใช้โปรแกรม RNAalifold ในการวิเคราะห์โครงสร้างทุติยภูมิพบว่าตำแหน่ง siRNA เป้าหมายส่วนใหญ่มีความน่าจะเป็นสูงในการเกิดโครงสร้างทุติยภูมิ ซึ่งรวมถึงบริเวณ 1317-1337 ด้วย บริเวณที่ไม่ทำนายว่าเกิดโครงสร้างได้แก่ ตำแหน่ง 1357-1377 and 1644-1664 จากนั้นได้ทำการสร้าง siRNA expression plasmids และ reporter gene (Luc+ และ surface) constructs สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการเป็น siRNA เป้าหมายที่ดี และ การหาหน้าที่ของ HBV PRE ตามลำดับ
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์