รายละเอียดโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

ยางพาราเป็นไม้ที่ถูกนํามาแปรรูปมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2548-2552) พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 6.36% ต่อปี จาก 13.61 ล้านไร่ ในปี พ.ศ.2548 เป็น 17.41 ล้านไร่ ในปี พ.ศ.2552 กว่า 80% ของพื้นที่ปลูกไม้ยางพารานั้นอยู่ในภาคใต้ ผลผลิตหลักของยางพารา คือ น้ำยางและเมื่อต้นยางพารามีอายุประมาณ 25-30 ปี การผลิตนํ้ายางจะหมดสภาพลง โดยยางพาราที่หมดสภาพเหล่านี้จะถูกโค่นเพื่อนําไม้ยางเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่อไป ซึ่งการโค่นไม้ยางพารานั้น มักจะทําการโค่นในช่วงฤดูแล้ง (ช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม) เนื่องจากง่ายต่อการเข้าไปในพื้นที่ ปัจจุบันการตัดฟันต้นยางพารา ผู้รับเหมาจะเข้าไปรับซื้อต้นยางจากสวนต่างๆ ทำการประเมินปริมาตรด้วยสายตาและอาศัยประสบการณ์เป็นหลัก ไม่มีเครื่องมือใดๆในการช่วยประเมินดังกล่าว ทำให้บางครั้งการตีราคานั้นคลาดเคลื่อน เมื่อตกลงราคากันได้แล้วผู้รับเหมาจะดำเนินการตัดฟันแบบตัดหมดทั้งแปลง หลังจากตัดโค่น แล้วไม้ท่อนที่ได้ขนาดโตเกินกว่า 6 นิ้วจะถูกหมายทอนขนาดยาว 1.00 - 1.30 เมตร อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดฟันส่วนใหญ่เป็นเลื่อยยนต์ หลังจากทอนไม้ท่อนแล้วจะนำท่อนไม้ยางพารา ใส่รถยนต์บรรทุกโดยใช้แรงงานคนหรือรถคีบเพื่อนำไปขายยังโรงงานแปรรูปและโรงงานอุตสาหกรรมไม้ต่างๆ โดยเศษเหลือที่ทิ้งในแปลงประกอบด้วยส่วนปลายยอด กิ่งก้าน ใบ ตอไม้และรากไม้ ซึ่งวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้เกษตรกรนิยมเผาทิ้งหรือในบางพื้นที่มีการใช้สารเคมีราดที่ตอเพื่อทำให้ผุ การเอาเศษเหลือจากการทำไม้ไปใช้ประโยชน์ถือว่าคุ้มค่า โดยเฉพาะรากไม้ยางพาราสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเชื้อเพลิงได้ สถิติจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) พบว่ามีสวนยางพาราประมาณ 200,000-300,000 ไร่ต่อปีที่ต้องตัดฟัน แต่ละไร่มีต้นยางประมาณ 75-80 ต้น ก็จะได้ตอยางพารา 75-80 ตอ ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานไฟฟ้าในแต่ละปีได้ระดับหนึ่ง ตอไม้ยางพาราแต่เดิมไม่มีราคา ต้องเผาทิ้ง แต่ปัจจุบันมีราคาและตลาดต้องการสูง นอกจากนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์แล้ว ยังนำเอาไปเป็นเชื้อเพลิงโรงรม โรงอิฐแดง และโรงไฟฟ้าชีวมวลได้อีกด้วย ซึ่งต้นตอไม้ยางพาราเฉลี่ยตามที่โค่นของทุน สกย.ของแต่ละปีมีไม่ต่ำกว่า 300,000 ไร่ โดยแต่ละไร่จะมีต้นยางเฉลี่ย 75 ต้น มูลค่ารวมประมาณ 23 ล้านบาท ต้นตอไม้ยางพารา ราคาขณะนี้ขยับขึ้นมา 1-1.20 บาท/กก. โดยแต่ละต้นจะมีน้ำหนักประมาณ 40-50 กก. บางโรงงานต้องใช้รากไม้ประมาณ 80 ตัน/วัน ทว่าราคาของตอรากนั้นยังไม่สูงพอที่จะจูงใจให้เกษตรกรหรือผู้รับเหมาเก็บเกี่ยวและขนส่งไปขายยังโรงงาน เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ยังสูงอยู่ ส่งผลให้เกษตรกรหรือผู้รับเหมาไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ด้วยเหตุผลดังกล่าว การวิจัยนี้จึงต้องการที่จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการประเมินปริมาณไม้ที่มีความถูกต้องแม่นยำและเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือให้ได้มากที่สุด ด้วยรูปแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งที่มีประสิทธิภา

วัตถุประสงค์

1) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมวลชีวภาพของไม้ยางพารา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการตัดฟันและขนส่งไม้ยางพาราและเศษเหลือที่มีประสิทธิภาพ

Outputs

API url