รายละเอียดโครงการ
- แหล่งทุน: [object Object]
- ปีงบประมาณ: 2019
- ลักษณะโครงการ: ชุดโครงการ
- ประเภทโครงการ: ยังไม่ได้เลือกประเภทโครงการวิจัย
- หัวหน้าโครงการ: ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ผู้ร่วมวิจัย:
ความเป็นมาของโครงการ
ยางพารา เป็นไม้ที่ถูกนำมาแปรรูปมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 6.36% ต่อปี กว่า 80% ของพื้นที่ปลูกไม้ยางพารานั้นอยู่ในภาคใต้ ผลผลิตหลักของยางพารา คือ น้ำยางและเมื่อต้นยางพารามีอายุประมาณ 25-30 ปีการผลิตน้ำยางจะหมดสภาพลง โดยยางพาราที่หมดสภาพเหล่านี้จะถูกโค่นเพื่อนำไม้ยางเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่อไป ปัจจุบันการตัดฟันต้นยางพารา ผู้รับเหมาจะเข้าไปรับซื้อต้นยางจากสวนต่างๆ ทำการประเมินปริมาตรด้วยสายตาและอาศัยประสบการณ์เป็นหลัก ไม่มีเครื่องมือใดๆในการช่วยประเมินปริมาตรไม้ดังกล่าว ทำให้บางครั้งการตีราคามีความคลาดเคลื่อน เมื่อตกลงราคากันได้แล้วผู้รับเหมาจะดำเนินการตัดฟันแบบตัดหมดทั้งแปลง หลังจากตัดโค่น ท่อนไม้ยางพาราจะถูกนำไปจาหน่ายยังโรงงานแปรรูปและโรงงานอุตสาหกรรมไม้ต่างๆ โดยเศษเหลือที่เหลือทิ้งไว้ในแปลงประกอบด้วย ส่วนของปลายยอด กิ่งก้าน ใบ ตอไม้และรากไม้ ซึ่งวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้เกษตรกรนิยมเผาทิ้งหรือในบางพื้นที่มีการใช้สารเคมีเพื่อกาจัดตอรากดังกล่าว
การนำเอาเศษเหลือจากการทาไม้ไปใช้ประโยชน์ถือว่าคุ้มค่า โดยเฉพาะตอรากไม้ยางพาราสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเชื้อเพลิงได้ สถิติจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) พบว่ามีสวนยางพาราประมาณ 200,000-300,000 ไร่ต่อปีที่ต้องตัดฟัน แต่ละไร่จะมีตอยางพารา 75-80 ตอ คิดเป็นมูลค่าราว 23 ล้านบาท แต่ทว่าราคาของตอรากนั้นยังไม่สูงพอที่จะจูงใจให้เกษตรกรหรือผู้รับเหมาเก็บเกี่ยวและขนส่งไปขายยังโรงงาน เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ยังสูงอยู่ ส่งผลให้เกษตรกรหรือผู้รับเหมาไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก
ด้วยเหตุผลดังกล่าว โจทย์วิจัยนี้ได้รับการผลักดันจากภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมชีวมวล ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือให้ได้มากที่สุด ด้วยรูปแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการประเมินปริมาณไม้ให้มีความถูกต้องแม่นยำและเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอีกทางหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์
1) สร้างเครื่องมืออย่างง่ายที่ใช้ในการประเมินมวลชีวภาพของไม้ยางพารา
2) พัฒนารูปแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งไม้ยางพาราและเศษเหลือที่มีประสิทธิภาพ