รายละเอียดโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

เนื่องจากการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องมีระบบมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้สินค้าที่ได้มีคุณภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้มีโรงเชือดโค และโรงแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อ แต่ยังไม่มีมาตรฐาน GMP รองรับ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการสร้างระบบโรงเชือดโค และระบบโรงแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน GMP เพื่อผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ KU จากข้อมูลข้างต้น คณะผู้ดำเนินงานซึ่งมีประสบการณ์ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำนมแพะเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ได้มีการจัดการฝึกอบรมมาตั้งแต่พุทธศักราช 2549 แล้วได้ทำการจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ต่ำกว่า 15 รุ่น ซึ่งผลตอบรับจากการฝึกอบรมทำให้ทางคณะผู้ดำเนินงานมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่าเกษตรกรต้องการที่จะเรียนรู้ และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการขยายตลาดนมแพะ อันเป็นการเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงต่ออาชีพการเลี้ยงแพะนม รวมถึงส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่ได้มีช่องทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพมากขึ้น น้ำนมแพะปัจจุบันเป็นที่รู้จักและมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นมแพะพาสเจอร์ไรส์รสต่างๆ โยเกิร์ตนมแพะ ไอศกรีม คุกกี้ ฯลฯ และเพื่อความงามในการบำรุงผิวพรรณ เช่น สบู่ ครีม โลชั่น ฯลฯ การแปรรูปน้ำนมแพะเป็นผลิตภัณฑ์ เกษตรกรสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่าย วิธีการปฏิบัติไม่ยุ่งยาก และเพิ่มความหลากหลายให้กับน้ำนมแพะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีกับตัวเกษตรกรและส่งผลดีต่อตลาดน้ำนมแพะต่อไป ในช่วงที่น้ำนมแพะขาดแคลน ในส่วนของเนื้อแพะเชียง และแคบแพะ เป็นการแปรรูปเนื้อแพะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าจากเนื้อแพะปกติ เป็นผลิตภัณฑ์แพะเชียง และแคบแพะ และยังเป็นการขยายตลาดให้กับผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อแพะได้มากยิ่งขึ้นเป็นการต่อยอดจากวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ และเพื่อขยายช่องทางทางการตลาดแพะให้มากขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นและลบอคติในการบริโภคเนื้อแพะ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีองค์ความรู้และศักยภาพพร้อมที่จะถ่ายทอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อแพะที่ได้สั่งสมประสบการณ์มาตลอดระยะเวลา 10 ปี เพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อแพะและนมแพะ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางเลือกให้ผู้บริโภคได้มากขึ้น และสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพมากขึ้น ในบางช่วงเวลาที่มีเนื้อแพะและนมแพะออกสู่ตลาดมากก็ส่งผลให้มีราคาตกต่ำ จึงทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบางรายเลิกประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะไป แต่เกษตรกรบางรายกลับสู้กับปัญหาอย่างเต็มกำลัง โดยการนำเนื้อและนมแพะมาผ่านการแปรรูป แต่การแปรรูปของเกษตรกรเป็นการแปรรูปแบบชาวบ้าน เพื่อบริโภคในครัวเรือนไม่ได้มีการจำหน่ายตามท้องตลาด โดยเป้าหมายของกลุ่มผู้จัดอบรมอยากให้เกษตรกรมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเลี้ยงแพะ อีกทั้งเรื่องที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นเรื่องที่ทางกลุ่มผู้จัดอบรมค่อนข้างเชี่ยวชาญ และชำนาญการเป็นอย่างยิ่ง สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค การเรียนรู้และหลักการคิดที่จะเพิ่มมูลค่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะวัตถุดิบเริ่มต้น ปัจจุบันวัตถุดิบที่นำมาแปรรูป ปรุง ประกอบ เน้นกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยและสามารถตามสอบได้ว่า วัตถุดิบมาจากแหล่งใดกระบวนการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยหรือไม่ หลักการที่ดีในการผลิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการหรือบุคคลที่ประสงค์จะสร้างอาชีพด้านการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร ทั้งนี้หลักการดังกล่าวจะครอบคลุมการปฏิบัติ รวมทั้งแหล่งที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร และกระบวนการผลิตที่ดี มีความปลอดภัยตามคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่วางไว้ โดยในการผลิตสินค้า เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากลนั้นจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้าน GAP, GMP, HACCP, ISO 9000, ISO 22000 และความรู้ด้านสารก่อภูมิแพ้ (Food allergen) มีงานวิจัยรายงานการทำโยเกิร์ตผงหลายเทคนิควิธี ส่วนใหญ่พบว่าการทำแห้งด้วยเทคนิคแช่เยือกแข็งคุณภาพโยเกิร์ตผงที่ดี มีอัตราการรอดชีวิตของแบคทีเรียแลคติกสูง และสูญเสียแร่ธาตุ วิตามิน กลิ่นรสค่อนข้างน้อย งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโดยใช้วิธีการทําแห้งแบบแช่เยือกแข็งให้เป็นโยเกิร์ตนมแพะผง เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ลดปัญหาการขนส่ง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำนมแพะ และเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตที่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ต้องการการเตรียมอาหารโดยใช้เวลาสั้น แต่ให้ผลที่ดีต่อสุขภาพ ในปัจจุบันผู้บริโภคยังขาดความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและความปลอดภัย จากความรู้เดิมผู้บริโภคเข้าใจว่า แพะหรอ? กินได้หรอ? เหม็นสาบไม่ใช่หรอ? ไม่เห็นมีใครเขากินกัน? ทำไมต้องกินแพะด้วยละ? จากข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้บวกกับแนวคิดติดลบในผลิตภัณฑ์ของแพะไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือนม ทำให้ตลาดของแพะไม่ไปไหนเมื่อเทียบกับตลาดเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ แต่ในทางกลับกันเกษตรกรหันมาเลี้ยงแพะเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ทำให้เนื้อแพะนมแพะในบางฤดูกาลเกิดการล้นตลาด เกษตรกรไม่มีองค์ความรู้มากพอที่จะจัดการกับผลิตผลของตนเอง แล้วก็จะนำไปสู้วงจรชีวิตแบบเก่าคือ ลงทุน ขาดทุน แล้วก็เลิกเลี้ยงส่งผลให้เกษตรกรไม่มีความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงแพะ อีกทั้งสินค้าเกษตรเหล่านี้ยังขาดความน่าเชื่อถือในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการและคุณประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังขาดการนำข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ออกมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำข้อมูลที่ถูกต้องเหล่านี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย ในงานวิจัยโครงการย่อยที่5นี้เป็นโครงการต่อยอดจาโครงการที่4 โดยการนำผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมาวิจัยต่อในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการลักษณะทางประสาทสัมผัส หรือคุณสมบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยยืนยันถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั้งในประเทศและอาเซียน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเหล่านี้ได้หลากหลายช่องทาง อาทิ แผ่นพับ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ และการจัดนิทรรศการ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าเกษตรคุณภาพและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริโภคให้เลือกรับประทานสินค้าเกษตรคุณภาพ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ นำเสนอให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์และหันมานิยมการบริโภคผลิตภัณฑ์คุณภาพมากขึ้น โดยการสื่อสาร ให้ข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแพะ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ โบว์ชัวร์ ออกบูธตามนิทรรศการต่างๆ ร่วมงานตามโครงการ แจกสินค้าตัวอย่างเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ เป็นต้น เพื่อบอกถึงคุณสมบัติ ลักษณะเด่นของสินค้า ประโยชน์ของสินค้าจากเนื้อแพะและนมแพะ องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์ศศิธร นาคทอง นมแพะสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ที่มีงานทดลองออกมาเพื่อสนับสนุนวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ให้ถูกวิธี ถูกหลักอนามัยและไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ การแปรรูปนมแพะสเตอริไรส์เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาและเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการบริโภคนมมากขึ้น การแปรรูปนมแพะเป็นนมแพะผงเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา ในสภาวะที่ปริมาณนมแพะล้นตลาดเราสามารถนำน้ำนมเหล่านี้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อลดการสูญเสีย เช่น นมแพะผงสามารถนำมาละลายกลับเพื่อนำไปใช้เป็นนมน้ำได้ปกติในช่วงที่น้ำนมแพะขาดแคลน ในส่วนของเนื้อแพะเชียง และแคบแพะ เป็นการแปรรูปเนื้อแพะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าจากเนื้อแพะปกติ เป็นผลิตภัณฑ์แพะเชียง และแคบแพะ และยังเป็นการขยายตลาดให้กับผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อแพะได้มากยิ่งขึ้นเป็นการต่อยอดจากวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ และเพื่อขยายช่องทางทางการตลาดแพะให้มากขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นและลบอคติในการบริโภคเนื้อแพะ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างระบบตรวจติดตามกระบวนการฆ่าโค ตั้งแต่การขนส่งจนถึงกระบวนการฆ่า (Meat Inspection Monitoring System) และพัฒนาโรงฆ่าโคต้นแบบตามมาตรฐาน GMP/ห้องตัดแต่ง และแปรรูปผลิตภัณฑ์ 2.เพื่อศึกษา Business Model ของสินค้า (เนื้อสัตว์, น้ำนม และไข่) ในรูปของ Value proportion 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตนมแพะผงโดยเทคนิคทำแห้งแช่เยือกแข็ง 3.1 เพื่อศึกษาคุณภาพโยเกิร์ตผงและโยเกิร์ตคืนรูปตลอดการเก็บรักษา 3.2 เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาโยเกิร์ตผง 4.เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของสินค้าเกษตรคุณภาพที่ถูกต้องโดยมีผลทางวิทยาศาสตร์มารับรองเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรคุณภาพให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและในระดับอาเซียน 5. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มผู้สนใจทั้งในประเทศและอาเซียนมาศึกษา 5.1 เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน 5.2 ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปน้ำนมแพะและเนื้อแพะ 6. ถ่ายทอดองค์ความรู้มาตรฐานด้าน GAP, GMP, HACCP, ISO 9000, ISO 22000 และความรู้ด้านสารก่อภูมิแพ้ (Food allergen) เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบตรวจติดตามกระบวนการฆ่าโค ตั้งแต่การขนส่งจนถึงกระบวนการฆ่า (Meat Inspection Monitoring System) และพัฒนาโรงฆ่าโคต้นแบบตามมาตรฐาน GMP/ห้องตัดแต่ง และแปรรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยการปรับปรุงสถานที่ในส่วนของห้องปฏิบัติการผลิตผลจากสัตว์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน พบว่าสถานที่ดังกล่าวมีโรงฆ่าสัตว์ คอกพักสัตว์ ห้องเย็นเก็บซากสัตว์ ห้องตัดแต่ง/ห้องแปรรูปเนื้อ ห้องครัว/ห้องแปรรูปน้ำนม ห้องน้ำ ห้องประชุมและสำนักงาน อยู่ในอาคารเดียวกัน มีลักษณะการทำงานเป็นอาคารอเนกประสงค์ ถ้ามีการสร้างระบบตรวจติดตามกระบวนการฆ่าโค และการพัฒนาโรงฆ่าโคต้นแบบตามมาตรฐาน GMP ส่งผลให้พื้นที่ส่วนของการปรับปรุงห้องตัดแต่งและห้องแปรรูปเนื้อและผลิตภัณฑ์ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานและขอรับรองระบบ GMP ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการขอรับรองมาตรฐาน นอกจากนี้ทางทีมคณะทำงานวิจัยได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองระบบ (auditor) ของกรมปศุสัตว์ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรมด้วย ได้รับคำแนะนำให้แยกส่วนการทำงานกันออกมาให้ชัดเจน และ ไม่ควรอยู่ในบริเวณเดียวกัน ดังนั้นชุดโครงการวิจัย “โครงการการสร้างความมั่นคงของอาหารโปรตีน (เนื้อ, นม และไข่) ด้วยนวัตกรรมและความยั่งยืน” จึงแบ่งพื้นที่การวิจัยที่ต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP ออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการผลิตผลจากสัตว์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน ปรับปรุงให้เป็นโรงฆ่ามาตรฐาน GMP และเป็นโรงฆ่าต้นแบบเพื่อสร้างระบบตรวจติดตามกระบวนการฆ่าโค และส่วนที่ 2. เป็นพื้นที่ที่ทำการปรับปรุงสำหรับโรงตัดแต่ง และโรงแปรรูปเนื้อ เพื่อให้ได้มาตรฐาน GMP โดยแบบและแผนภาพแสดงลำดับขั้นการทำงานได้ผ่านการตรวจจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ

Outputs

Journals

# Internation Journal
1 Yi-Hsieng Samuel Wu, Yi-Ling Lin, Chien Huang, Chih-Hsien Chiu, ดร.ศศิธร นาคทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, Yi-Chen Chen, "Cardiac protection of functional chicken-liver hydrolysates on the high-fat diet induced cardio-renal damages via sustaining autophagy homeostasis.", Journal of the Science of Food and Agriculture, ปีที่ 100, ฉบับที่ 6, เมษายน 2020 - undefined NaN, หน้า 2443 - 2452

API url