รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2019
  • ลักษณะโครงการ: โครงการย่อยในชุดโครงการ "การประยุกต์ใช้การป่าไม้แม่นยำในสวนป่าไม้สักในภาคเหนือของประเทศไทย"
  • ประเภทโครงการ: ยังไม่ได้เลือกประเภทโครงการวิจัย
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

1) ความสำคัญของการทำไม้และการชักลากไม้ การทำไม้ โดยเฉพาะขั้นตอนของการล้มไม้และการชักลากไม้นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการจัดการสวนป่า ไม้เมื่อโตจนได้ขนาดและพร้อมจำหน่ายให้กับลูกค้า จะถูกตัดออกจากพื้นที่เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ไม้ที่เหลือยู่ในพื้นที่การเจริญเติบโตที่ดีขึ้น การทำไม้หากขาดการวางแผนที่ดีจะสามารถส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อหมู่ไม้ที่เหลืออยู่ในแปลง ทั้งนี้ผลกระทบนั้นเกิดขึ้นได้จากการชักลากไม้และเคลื่อนที่ไม้ขนาดใหญ่ผ่านพื้นที่ รวมถึงการใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทำไม้ที่ขาดการวางแผนที่ดีนอกจากจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้วนั้นยังส่งผลต่อระบบการบริหารการจัดการสวนป่าที่ด้อยคุณภาพอีกด้วย 2) การวางแผนก่อนการทำไม้ เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบจากการทำไม้ระหว่างการทำไม้ที่มีการวางแผนกับการทำไม้ที่ไม่มีการวางแผน จะเห็นได้ชัดเจนว่าการทำไม้ที่มีการวางแผนจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยกว่า วัตถุประสงค์หลักของการวางแผนการทำไม้ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดในขณะเดียวกันก็ยังสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการป่าไม้ได้ การชักลากไม้จากตอไปยังถนนป่าไม้ที่ใกล้ที่สุดนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญหนึ่งในการทำไม้ โดยทั่วไปท่อนซุงจะถูกลากไปตามพื้นดินโดยอาศัยช้างหรือแทรกเตอร์ ซึ่งขั้นตอนนี้เองจะทำให้เกิดเส้นทางในการชักลากชั่วคราว เส้นทางการชักลากไม้ชั่วคราวนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างทางเป็นอย่างดี การถาวทำแนวเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอสำหรับการชักลากไม้แล้ว โดยทั่วไปเส้นทางการชักลากไม้จะสร้างให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเป็นการลดกระทบที่เกิดจากการทำไม้ ถ้าการทำไม้ขาดการวางแผนอาจส่งให้กว่า 40 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกใช้เป็นเส้นทางในการชักลากไม้ 3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการนำโดรนมาใช้ในงานสำรวจมากขึ้น โดยการติดตั้งกล้องเพื่อการถ่ายภาพ ข้อดีของการสำรวจโดยการใช้โดรนถ่ายภาพนั้นมีความเหมาะสมในการติดตามตรวจสอบ (monitoring) สวนป่าไม้สักในหลายด้านด้วยกัน ประการที่หนึ่ง ภาพที่ถ่ายจากโดรนมีความละเอียดสูงมากทำให้สามารถศึกษาลักษณะของต้นไม้ได้ละเอียดมาก ประการที่สอง ใช้ต้นทุนต่ำในการดำเนินงาน ทำให้การสำรวจที่ต้องทำซ้ำในพื้นที่เดียวกันเป็นไปได้โดยสะดวกและทำให้ผู้สำรวจสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของป่าและสังเกตแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้ ประการที่สาม ต้องการโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงน้อยและสามารถใช้งานได้ในพื้นที่ห่างไกล 4) ช่องว่างขององค์ความรู้ การทำไม้ที่ขาดการวางแผนย่อมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลกระทบต่อการชะล้างพังทะลายของดิน รวมถึงการลดความสามารถของรากไม้ในการที่จะชอนไชลงไปในดินเนื่องจากดินอัดแน่นจนเกินไป เพื่อก้าวสู่การใช้ประโยชน์ผลผลิตที่ยั่งยืนจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการวางแผนกรทำไม้เป็นการล่วงหน้า มีการกำกับติดตาม และมีการประเมินผลกระทบหลังการทำไม้ เทคนิคการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศเป็นเทคโนโลยีที่ศักยภาพสูงในการได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความละเอียดและเป็นข้อมูลที่มีความเป็นปัจจุบัน อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็นข้อมูลชั้นความสูงเพื่อใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทำไม้ได้อีกด้วย เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถส่งเสริมให้ผู้จัดการสวนป่าลดค่าใช้จ่ายในการทำไม้และลดผลกระทบจากการทำไม้ได้ ทั้งนี้เพื่อผลสัมฤทธิ์สุดท้ายนั่นก็คือความยั่งยืนของทรัพยากรป่าไม้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อวางแผนก่อนการทำไม้โดยอาศัยเทคนิคภาพถ่ายทางอากาศ 2) เพื่อประเมินผลกระทบจากการล้มไม้ที่มีต่อไม้ยืนต้นที่เหลืออยู่ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการวางแผนการทำไม้โดยอาศัยเทคนิคภาพถ่ายทางอากาศ

Abstract

การตัดสางขยายระยะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมการเจริญเติบโตของหมู่ไม้ อย่างไรก็ตามการตัดสางขยายระยะอาจทำให้ต้นไม้ใกล้เคียงเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการวางแผนเส้นทางการชักลากอย่างระมัดระวังอาจช่วยในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับต้นไม้ที่เหลืออยู่ได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนเส้นทางการชักลากไม้ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพทางอากาศเพื่อชักลากต้นไม้ที่ถูกหมายไม้ไว้จากแปลงปลูกไปยังหมอนไม้ชั่วคราว และประเมินประสิทธิภาพของแผนเส้นทางการชักลากไม้ พื้นที่การศึกษาดำเนินการที่สวนป่าเขากระยาง จังหวัดพิษณุโลก การรวบรวมข้อมูลเริ่มต้นด้วยการสำรวจ UAV เพื่อถ่ายภาพพื้นที่แปลงทดลอง จากนั้นการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ - กระบวนการลำดับชั้นการวิเคราะห์ (AHP) ถูกใช้เพื่อประเมินค่าความสำคัญของแต่ละเกณฑ์ซึ่งจะทำการถ่วงน้ำหนักปัจจัยในการสร้างแผนที่เสถียรภาพของพื้นที่ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เครือข่ายในการวางแผนและออกแบบเส้นทางการชักลากบนพื้นฐานของแผนที่เสถียรภาพของพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าระยะทางทั้งหมดของเส้นทางการชักลากคือ 716.11 เมตรและความหนาแน่น 468.04 เมตรต่อเฮกตาร์ ต้นไม้ที่ถูกหมายคัดเลือกไว้ส่วนใหญ่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงได้โดยทางชักลากที่ออกแบบ ในแปลงควบคุมมีเพียงจำนวนรอบของการชักลากที่น้อยกว่าแปลงที่มีการวางแผนเส้นทางชักลากไม้ แต่จากผลการศึกษาอื่น ๆ เช่น ระยะทางของเส้นทางการชักลาก ระยะเวลาในการทำงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และผลกระทบจากการทำไม้ ในแปลงการควบคุมล้วนสูงกว่าแปลงที่มีการวางแผนเส้นทางชักลากไม้ทั้งสิ้น จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ช่วยให้เส้นทางที่ดีที่สุดในการเข้าถึงต้นไม้ที่ถูกหมายคัดเลือกไว้และสามารถหลีกเลี่ยงการรบกวนต้นไม้ที่อยู่ในแปลงได้ แผนเส้นทางชักลากไม้ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้บนพื้นที่จริง และแสดงให้เห็นว่าการวางแผนและออกแบบเส้นทางชักลากไม้สามารถช่วยให้การทำไม้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย ระยะเวลาการทำงาน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อต้นไม้ที่เหลืออยู่ในแปลงได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการปลูกสร้างสวนป่าทั้งภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนสามารถนำองค์ความรู้ และเทคนิคหรือวิธีการของงานวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางและประโยชน์ในการวางแผนการทำไม้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน

Outputs

Conference

# Internation Conference
1 Angkana Thongkam, ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, ดร.พยัตติพล ณรงคะชวนะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "LOGGING PLANNING VIA AERIAL FOREST SURVEY", FORMEC: 52 International Symposium on Forest Mechanisation, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, ตุลาคม - ตุลาคม 2019, หน้า undefined - undefined

API url