รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2019
  • ลักษณะโครงการ: ชุดโครงการ
  • ประเภทโครงการ: ยังไม่ได้เลือกประเภทโครงการวิจัย
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.ออ พรานไชย, รองศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

การป่าไม้แม่นยำ (Precision forestry) การป่าไม้แม่นยำใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อสนับสนุน site-specific เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการตัดสินใจที่ยั่งยืน (sustainable decision-making) ในการดำเนินงานภาคป่าไม้ (Precision Forestry Symposium, Washington 2002) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการที่เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลป่าไม้ที่รวบรวมและวิเคราะห์เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานและทบทวนกิจกรรมการจัดการอย่างยั่งยืน การสำรวจป่าโดยใช้โดรน (UAV inventory) การสำรวจป่าโดยวิธีการดั้งเดิม (conventional forest inventories) มีข้อจำกัดคือข้อมูลที่ได้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงและใช้เวลานานในการสำรวจ ซึ่งการป่าไม้แม่นยำต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ละเอียด และเป็นปัจจุบันในระดับของต้นไม้แต่ละต้น โดรนเป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเติมช่องว่างนี้ เนื่องจากสามารถให้ภาพทางอากาศได้ในราคาที่ต่ำและในเวลาอันสั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพที่ได้จากดาวเทียมและเครื่องบินสำรวจ โดรนมีราคาไม่แพงนัก และสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วในการบินถ่ายภาพเพื่อเก็บข้อมูลป่าไม้ในกรณีที่ต้องมีการสำรวจซ้ำ ภาพทางอากาศที่ได้จากโดรนสามารถนำมาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูล ตำแหน่งของต้นไม้ ขนาดของเรือนยอด ความสูงทั้งหมดของต้นไม้ และสุขภาพของต้นไม้แต่ละต้น การวางแผนการทำไม้และการประเมินผลกระทบการทำไม้ (Logging planning and impact assessment) การทำไม้ (timber harvesting หรือ logging operations) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการดำเนินงานด้านสวนป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรดินและต้นไม้ที่เหลืออยู่ได้รับผลกระทบ สิ่งที่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ป่าอย่างยั่งยืนคือการวางแผนก่อนการเก็บเกี่ยว (pre-harvest planning) การติดตามตรวจสอบผลกระทบ (appropriate monitoring) และการดำเนินงาน รวมทั้งการประเมินหลังการเก็บเกี่ยว (post-harvest evaluations) ด้วย การสำรวจป่าโดยใช้โดรนเป็นวิธีการที่มีศักยภาพ โดยภาพที่ได้จากโดรนให้รายละเอียดได้ในระดับต้นไม้แต่ละต้นและให้แผนที่ป่าที่มีความเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวางแผนและการดำเนินการเกี่ยวกับการทำไม้ การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่เพียงพอ (uninformed decision-making) จะส่งกระทบอย่างรุนแรงต่อการพังทลายของดินและสุขภาพของต้นไม้ที่เหลืออยู่ ทำให้การจัดการป่าไม้เป็นไปอย่างไม่ยั่งยืน (forest management unsustainable) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการสำรวจปริมาตรไม้สักด้วยโดรน (Cost benefit analysis of UAV-based forest inventory of teak plantations) ความพร้อมในการใช้โดรนในการสำรวจป่าไม้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงแม้จะมีศักยภาพเพียงใดก็ตาม ในภาคการป่าไม้ของประเทศไทย การใช้โดรนก็ยังมีอยู่อย่างจำกัด เหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งคือปัญหาการขาดแคลนช่างเทคนิคและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถบังคับโดรนให้ทำการถ่ายภาพเพื่อการสำรวจป่าได้ ในระยะยาวการสำรวจป่าโดยใช้โดรนอาจมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการสำรวจแบบดั้งเดิมโดยใช้แรงงานคน แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้โดรนเพื่อให้สามารถใช้งานได้และใช้งานได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นจึงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการประยุกต์ใช้โดรนในการจัดการป่าเป็นทางเลือกทางเศรษฐกิจที่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่

วัตถุประสงค์

1) การพัฒนาแอพลิเคชันออนไลน์ในการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากโดรนเพื่อประเมินปริมาตรไม้สักในสวนป่าไม้สักบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย 2) ศึกษาการวางแผนการทำไม้และประเมินผลกระทบจากการทำไม้โดยใช้ภาพถ่ายที่ได้จากโดรน 3) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน และศึกษาประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์ของการสำรวจปริมาตรไม้สักด้วยโดรนเปรียบเทียบกับการสำรวจด้วยแรงงานคน

Outputs

Journals

# Journal
1 ดร.เออวดี เปรมัษเฐียร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ออ พรานไชย, รองศาสตราจารย์, วิสุทธิ หมั่นทำการ, "Financial Feasibility of UAV-based Forest Inventory of Teak Plantation: A Case Study of Khaokrayang Forest Plantation, Phitsanulok Province", วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร , ปีที่ 17, ฉบับที่ 4, ตุลาคม - ธันวาคม 2022, หน้า 90 - 104

Conference

# Internation Conference
1 Nichmon Plodchum, ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, ดร.วันชัย อรุณประภารัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "Multicriteria Decision Analysis for Selecting the Sustainable Logging System in Teak Plantation", FORMEC: 52 International Symposium on Forest Mechanisation, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, ตุลาคม - ตุลาคม 2019, หน้า undefined - undefined
# Conference
1 พงษ์พีระ มุขแจ้ง, ดร.เออวดี เปรมัษเฐียร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ณัฐพล พจนาประเสริฐ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการใช้อากาศยานขนาดเล็กไร้คนขับ (UAV) ในการสารวจปริมาตรไม้สัก", การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ประจำปี พ.ศ. 2563, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, มิถุนายน - กรกฎาคม 2020, หน้า undefined - undefined
2 วิสุทธิ หมั่นทำการ, ดร.เออวดี เปรมัษเฐียร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ออ พรานไชย, รองศาสตราจารย์, "การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการใช้อากาศยานไร้คนขับในการจัดการสวนป่าไม้สัก", การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 14, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, พฤษภาคม - พฤษภาคม 2020, หน้า undefined - undefined
3 อังคณา ทองคำ, ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, ดร.พยัตติพล ณรงคะชวนะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "การออกแบบเส้นทางการชักลากไม้ด้วยการใช้การวิเคราะห์โครงข่าย และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่", การประชุมการป่าไม้ประจำปีพ.ศ.2564, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, เมษายน - เมษายน 2021, หน้า undefined - undefined

API url