รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2019
  • ลักษณะโครงการ: โครงการย่อยในชุดโครงการ "การเพิ่มศักยภาพการขยายพันธุ์อินทผลัมให้ตรงตามความต้องการของเกษตรกรไทย โดยกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ"
  • ประเภทโครงการ: ยังไม่ได้เลือกประเภทโครงการวิจัย
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.วรรณรัตน์ ผลเพิ่ม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

อินทผลัมเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ประเทศอียิปต์ อิหร่าน และซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น ในปัจจุบันการปลูกอินทผลัมในประเทศไทยได้รับความนิยม โดยเป็นหนึ่งในพืชทางเลือกที่ปลูกง่าย ขายได้ทั้งผลผลิต และนำมาทำเป็นไม้สวนประดับตกแต่งในบ้าน จังหวัดที่มีการปลูกอินทผลัม ได้แก่ เชียงใหม่ อ่างทอง นครราชสีมา แต่อย่างไรก็ตามการปลูกอินทผลัมมักประสบปัญหาอันเนื่องมาจากอินทผลัมเป็นพืชแบบ Heterozygous ดังนั้นหากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมักจะเกิดการกลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีความแปรปรวนของพันธุกรรมสูง มีความไม่แน่นอนว่าจะได้ต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียในอัตราส่วนเท่าไร จึงทำให้มีการพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์อินทผลัมด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีสถาบันวิจัยที่ได้มีการขยายพันธุ์อินทผลัมเพื่อการค้า โดยอาศัยเทคนิคดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น Marionnet G.F.A. (ฝรั่งเศส), Rahan Meristem (อิสราเอล), Al Rajhi Tissue Culture Laboratory และ Sapad Tissue Culture Date Palm Co. (ซาอุดิอาระเบีย), Domaine Agricole El Bassatine (โมร็อคโค), Date Palm Research Center (โอมาน), UAE University, Date Palm Tissue Culture Laboratory (สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์) และ Date Palm Developments (สหราชอาณาจักร) เป็นต้น สำหรับในการปลูกอินทผลัมในประเทศไทยนั้น ยังอาศัยการนำเข้าต้นพันธุ์มาจากห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ ซึ่งทางผู้วิจัยได้รับการติดต่อจากคุณเสริมวุฒิ ทองประสาน เกษตรกรเจ้าของสวนแม่รัตน์อินทผลัม จ.สมุทรสาคร เรื่องการขยายพันธุ์ต้นอินทผลัมไทยที่ได้จากการเพาะเมล็ดของต้นแม่ คือ สายพันธุ์ KL1 (หรือ แม่โจ้ 36) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย ดร.ศักดิ์ ลำจวน โดยทางสวนได้นำมาทดลองปลูก จำนวน 100 ต้น และประสบปัญหาจากการนำเมล็ดพันธุ์มาปลูก โดยผลผลิตที่ได้มีทั้งรสชาติหวานกรอบ ฝาด สีแดง สีเหลือง ผลร่วงก่อนสุก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามทางสวนได้พบต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่มีรสชาติหวานอร่อย ตั้งแต่ผลยังเป็นสีเขียว และให้ผลผลิตสูง จึงมีความสนใจที่จะนำต้นพันธุ์ดังกล่าว มาขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แล้วนำมาแจกจ่ายให้เป็นตัวเลือกของเกษตรกรท่านอื่นที่สนใจ และหลีกเลี่ยงปัญหาการนำเข้าต้นพันธุ์ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ โครงการวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมสายพันธุ์ไทย เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร และยังช่วยส่งเสริมการปลูกอินทผลัมสายพันธุ์ไทย ทดแทนการปลูกอินทผลัมสายพันธุ์ต่างประเทศ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นอินทผลัมสายพันธุ์ไทยจากชิ้นส่วนต่างๆ 2. เพื่อพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัม 3. เพื่อประเมินคุณภาพต้นอินทผลัมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Abstract

อินทผลัม (Phoneix dactylifera L. ) สามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติโดยใช้เมล็ดหรือหน่อ และผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จัดว่าเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ต้นพืชจำนวนมากและมีลักษณะที่เหมือนกัน ในประเทศไทยต้นกล้าอินทผลัมส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงแคลลัสและการพัฒนาเป็นต้นกล้าของอินทผลัมพันธุ์ไทย (KL1) โดยนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอินทผลัมที่แยกออกจากต้นแม่ที่คัดเลือกไว้ ทำการฟอกฆ่าเชื้อ แล้วนำไปเลี้ยงบนอาหารสำหรับชักนำให้เกิดแคลลัส จากผลการทดลองพบเนื้อเยื่อเจริญแคลลัสจากหน่อข้างที่เลี้ยงบนอาหารวุ้น (0.8%) Murashige and Skoog’s basal medium (MS) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมน 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ความเข้มข้น 0.5 mg L-1 และ 6-Benzylaminopurine (BAP) ความเข้มข้น 0.5 mg L-1 ที่มีการเติมผงถ่าน (AC) จากนั้นตรวจสอบสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นต้นกล้า โดยทำการย้ายแคลลัสที่ได้ไปเลี้ยงต่อบนอาหารที่มีฮอร์โมนความเข้มข้นต่างๆ กัน เมื่อได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์จะนำไปปลูกลงดินเพื่อทำการศึกษาต่อไป

Outputs

API url