รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2018
  • ลักษณะโครงการ: โครงการเดี่ยว
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและ นำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้ “ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดล เศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ 1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็นSmart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง 3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง อุตสาหกรรมป่าไม้ก็จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Food, Agriculture and Bio Technology) โดยภาคป่าไม้จะต้องเติมเต็มวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาแล้วต่อยอดความรู้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น การป่าไม้แบบดั้งเดิมจะถูกผลักดันให้ไปสู่การป่าไม้สมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี จากเดิมทีส่วนมากเกษตรกรผู้ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจมักจะจำหน่ายไม้ให้อุตสาหกรรมปลายทางเพียงอึตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการกระจายการจำหน่ายวัตถุดิบไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า (Smart Forestry) เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น และโรงงานอุตสาหกรรมได้รับวัตถุดิบที่ตรงความต้องการ ปัจจุบันยูคาลิปตัสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่อง จากราคาไม้ยูคาลิปตัสนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการของตลาด รัฐบาลได้มีการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วมากขึ้นเพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลายและรักษาความสมดุลตามธรรมชาติ และที่สำคัญเพื่อให้มีไม้ใช้สอยในครัวเรือนอย่างเพียงพอ และเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยไม่ต้องตัดไม่จากป่าธรรมชาติ ต้นยูคาลิปตัสถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย รวมทั้งมีการปลูกกันเป็นจำนวนมากเพื่ออุตสาหกรรมทำเป็นชิ้นไม้สับสำหรับผลิตแผ่นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด เยื่อและกระดาษ ดังนั้น หากมีระบบการจัดการที่ดีประกอบกับการใช้เทคโนโลยีร่วมกันอย่างเหมาะสม การปลูกต้นยูคาลิปตัสก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของประเทศ การรับซื้อไม้ท่อนยูคาลิปตัสของโรงงาน โดยทั่วไปราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ โดยไม้ยูคาลิปตัสที่มีขนาดเล็กจะขายได้ราคาที่ต่ำกว่าไม้ยูคาลิปตัสที่มีขนาดใหญ่ กอปรกับข้อจำกัดคุณลักษณะไม้ชนิดนี้ในการแปรรูป ทำเกษตรกรใช้ประโยชน์จากไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกขึ้นเป็นไม้ใช้สอยทำเครื่องเรือนได้อย่างจำกัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ไม้ยูคาลิปตัสจากสวนป่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไม้ยูคาลิปตัส เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ไม้ได้อย่างคุ้มค่า และเกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

Abstract

ปัจจุบันโอกาสทางการตลาดของยูคาลิปตัสนั้นเติบโตเป็นอย่างมากและมีตลาดรับซื้อที่ชัดเจนและหลากหลาย เกษตรกรที่ปลูกไม้ยูคาลิปตัสสามารถตัดไม้ขายได้ตลอดทั้งปี ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด แต่การที่จะตัดสินใจว่าจะขายไม้ให้กับอุตสาหกรรมใดนั้นเกษตรกรยังขาดความรู้และข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะนำไม้ไปขายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งอุตสาหกรรมนั้นอาจจะอยู่ใกล้สวนป่ามากที่สุดแต่อาจจะไม่ได้ให้ราคาที่ดีที่สุดก็เป็นไปได้ และนี่คือการเสียโอกาสของเกษตรกรโดยที่เกษตรกรไม่รู้ตัว การวิจัยเรื่อง “บูรณาการการทอนไม้ยูคาลิปตัสเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสวนป่าเชิงพาณิชย์” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไม้ยูคาลิปตัส ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และ 2) เพื่อให้เกษตรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม้ตามขนาดที่ต้องการ ผลจากการศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อเพิ่มความตระหนักให้แก่เกษตรกรให้รับทราบถึงทางเลือกในการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลการศึกษานี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อไป

Outputs

API url