รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2018
  • ลักษณะโครงการ: โครงการย่อยในชุดโครงการ "การศึกษาระบบการทำไม้เพื่อการจัดการสวนป่าสักอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา จังหวัดแพร่"
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะไม้แปรรูปมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ในปีพ.ศ.2557 (กรมป่าไม้, 2558) หลังจากนโยบายปิดป่าของรัฐบาลในอดีต แหล่งที่มาของไม้สำหรับใช้งานคือสวนป่าที่มีการปลูกสร้างขึ้น ชนิดพันธุ์หลักสำหรับสวนป่าในประเทศไทยได้แก่ สัก และยูคาลิปตัส โดยงานสวนป่าในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากลักษณะงานเป็นงานที่หนัก ต้องทำงานกลางแจ้ง ภายใต้สภาพอากาศที่ผันแปร และต้องใช้แรงในการทำงานเป็นหลัก การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยในการทำงานยังมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีราคาสูง ยังไม่คุ้มค่าสำหรับการลงทุน งานป่าไม้โดยเฉพาะขั้นตอนการทำไม้ ซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ คือ การล้มไม้ การหมายวัดตัดทอน การชักลากไม้ออกจากป่า โดยเฉพาะไม้สัก ท่อนไม้มีขนาดใหญ่กว่าไม้ยูคาลิปตัสมาก การใช้แรงงานคนจึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง กรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้น มักจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร่างกาย ถึงขั้นต้องหยุดงานหรือไม่สามารถทำงานได้ต่อไป เมื่อผนวกกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีอยู่แล้ว ทำไห้ไม่สามารถหาคนมาแทนได้ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังกระบวนการทำงานโดยรวม ที่งานจะช้าลง ผลผลิตลดลง และหากทุกสวนป่าอยู่ภายใต้ความเสี่ยงแบบเดียวกันนี้ และเกิดปัญหาในรูปแบบเดียวกัน การส่งผลกระทบในภาพรวมของอุตสาหกรรมป่าไม้คงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การศึกษาทางด้านการยศาสตร์ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถชี้ให้เห็นถึงระดับภาระงานทางกายหรือความหนักเบาของงาน รวมถึงความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บของคนงานอันเกิดจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุง ซึ่งอาจเป็นการปรับคนให้เข้ากับงาน หรือการปรับรูปแบบการทำงานให้เข้ากับคน การศึกษาครั้งนี้เลือกศึกษาการทำไม้สัก เนื่องจากเป็นชนิดไม้ที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในอุตสาหกรรมไม้แปรรูปของประเทศไทย นอกจากนี้ขนาดของไม้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่ คนงานมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตราย จึงควรมีการศึกษาอย่างเร่งด่วน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาภาระงานทางกายของคนงานในขั้นตอนต่างๆของการทำไม้สัก 2) เพื่อศึกษาภาวะเสี่ยงของร่างกายที่เกิดจากท่าทางในการทำงานของคนงานในขั้นตอนต่างๆของการทำไม้สัก 3) เพื่อศึกษาผลของการปรับปรุงวิธีการทำงานต่อภาระงานและภาระเสี่ยงของร่างกาย

Abstract

การศึกษาเรื่องภาวะทางการยศาสตร์และความปลอดภัยของคนงานการทำไม้จากสวนป่าสักมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระงานทางกายของคนงาน ภาวะเสี่ยงของร่างกายที่เกิดจากท่าทางในการทำงานของคนงาน ในขั้นตอนต่างๆของการทำไม้สัก และผลของการปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยศึกษาในพื้นที่สวนป่าไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในเขตจังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินภาระงานทางกาย และการใช้เทคนิคการประเมินท่าทางการทำงาน Rapid Upper Limb Assessment (RULA) และ Rapid Entire Body Assessment (REBA) เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของร่างกาย ผลการศึกษา พบว่าจากการศึกษาในสวนป่าจำนวน 4 สวน ได้แก่ สวนป่าวังชิ้น สวนป่าแม่สรอย สวนป่าขุนแม่คำมี และสวนป่าแม่คำปอง สามารถแบ่งระดับภาระงานทางกายออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เบา และปานกลาง โดยงานที่มีค่าภาระงานทางกายสูงที่สุด คือ คนท้ายรถจอหนัง ในขณะที่ผลการศึกษาความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการวิเคราะห์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี REBA พบว่า งานที่มีความเสี่ยงที่สุด คือ ปลดโซ่ และผลการศึกษาความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการวิเคราะห์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี RULA พบว่า งานที่มีความเสี่ยงที่สุด คือ ควาญช้าง หลังจากอบรมแนะนำความเสี่ยงและวิธีการปรับปรุงงานพบว่า ค่าภาระงานทางกายโดยรวมมีเพียงระดับเดียว คือ เบา โดยงานที่มีค่าภาระงานทางกายสูงที่สุด คือ ตีตรา ในขณะที่ผลการศึกษาความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการวิเคราะห์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี REBA พบว่า งานที่มีความเสี่ยงที่สุด คือ งัดไม้ และผลการศึกษาความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการวิเคราะห์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี RULA พบว่า งานที่มีความเสี่ยงที่สุด คือ ปลดโซ่ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรมพบว่าค่าภาระงานทางกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ในขณะที่ความเสี่ยงทางการยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Outputs

Journals

# Journal
1 ดร.ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์, อาจารย์, "การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในคนงานทำไม้ในสวนป่าไม้สักจังหวัดแพร่", Thai Journal of Science and Technology, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, มีนาคม - เมษายน 2021, หน้า 223 - 233

Conference

# Conference
1 กัญญรัตน์ อินตาพวง, ดร.ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์, อาจารย์, "อิทธิพลของการสวมใส่ชุดป้องกันขาต่อคุณสมบัติทางสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์บางประการในคนงานสวนสัก", การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.2562, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, สิงหาคม - สิงหาคม 2019, หน้า undefined - undefined

API url