รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2018
  • ลักษณะโครงการ: โครงการย่อยในชุดโครงการ "การศึกษาระบบการทำไม้เพื่อการจัดการสวนป่าสักอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา จังหวัดแพร่"
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:
  • url: http://www.foresteng.canterbury.ac.nz/FEC2018.shtml

ความเป็นมาของโครงการ

การทำไม้ (Timber harvesting) คือกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การชักลากตอนป่าเพื่อนำไม้มากองรวมไว้ริมทางตรวจการหรือหมอนไม้ชั่วคราวในป่า การหมายวัดตัดทอนไม้เพื่อให้ได้ขนาดของไม้ตามที่ต้องการ รวมถึงการขนส่งจนไปถึงโรงงานแปรรูป ขั้นตอนการทำไม้แต่ละขั้นจะใช้อุปกรณ์และวิธีการแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดไม้ รูปแบบการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีอยู่ และรวมถึงประสบการณ์การทำไม้ของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ สำหรับสวนป่าไม้สักภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มีการดำเนินงานตั้งแต่การผลิตกล้า ปลูก ดูแล จนถึงการทำไม้ออกมาเป็นเวลานานตั้งแต่ก่อนมีการปิดป่าสัมปทาน ปี พ.ศ. 2532 จนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปการทำไม้สักจะใช้วิธีการทำไม้แบบ Tree length ซึ่งไม้ที่ล้มแล้วจะถูกลิดกิ่งและตัดปลายยอดออก แล้วถูกชักลากมายังหมอนไม้ชั่วคราวหรือริมทางตรวจการ อาจมีการวัดขนาดไม้และตัดทอนให้ได้ความยาวที่ต้องการก่อนมีการขนส่งต่อไปยังหมอนไม้ถาวร เพื่อรอการซื้อขายไม้หรืออาจจะขนส่งไปยังโรงงานแปรรูปไม้เลย ซึ่งระบบการทำไม้ (Logging system) ที่พิจารณาเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการทำไม้ ปัจจุบันยังมีการใช้เลื่อยยนต์ (Chainsaw) ในการล้มไม้และตัดทอนไม้ การชักลากตอนป่ามีอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น รถแทรกเตอร์ทางการเกษตร (Farm tractor) รถชักลาก (Skidder) และช้าง และการขนส่งใช้รถจอหนัง รถบรรทุกขนาดต่างๆ ขนย้ายไม้สักจากหมอนไม้ชั่วคราวในป่าออกมายังหมอนไม้ใหญ่ (Landing) ของสวนเพื่อรอการซื้อขาย หลังจากนั้นจะมีการขนส่งต่อเพื่อไปยังโรงงานแปรรูปไม้ปลายทาง จะเห็นว่าระบบการทำไม้สักมีความหลากหลายซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการทำไม้ที่แตกต่างกัน การวางแผนการทำไม้เพื่อให้การทำไม้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ระบบการทำไม้ที่เหมาะสมมีต้นทุนต่ำ คือการศึกษาผลิตภาพ และค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอน รวมถึงการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ (Harvesting model) ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบข้างด้วยเพื่อให้การดำเนินงานของสวนป่าเกิดความยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1 เพื่อศึกษารูปแบบและอุปกรณ์ในการทำไม้สัก ตั้งแต่กระบวนการล้มไม้ การชักลากตอนป่า การหมายวัดตัดทอน และการขนส่งไม้จนถึงโรงงานอุตสาหกรรม 2 เพื่อศึกษาผลิตภาพและค่าใช้จ่ายในการทำไม้สัก 3 เพื่อพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ในการทำไม้สัก

Abstract

การศึกษาระบบการทำไม้และการขนส่งไม้ในสวนป่าสัก ณ สวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในจังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและอุปกรณ์ในการทำไม้สัก ตั้งแต่การล้มไม้ การชักลากตอนป่า การหมายวัดตัดทอน และการขนส่งไม้จนถึงโรงงานแปรรูปไม้ เพื่อทราบผลิตภาพ ค่าใช้จ่าย และตัวแบบพยากรณ์ในขั้นตอนนั้น จากการศึกษาพบว่ามีระบบการทำไม้ 6 ระบบ ซึ่งใช้เลื่อยยนต์ในการล้มไม้ ลิดกิ่งและตัดทอนเหมือนกัน แต่ต่างกันในขั้นตอนการชักลากถอนตอ และการขนส่งระยะสั้นจากป่าไปยังหมอนไม้ ผลิตภาพที่ได้ในการทำงานด้วยเครื่องมือต่างๆ พบปัญหาคอขวดเกิดขึ้นในขั้นตอนการชักลากตอนป่า การดำเนินงานมีความล่าช้าด้วยประสิทธิภาพและขั้นตอนการปฏิบัติของเครื่องมือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แนวทางการแก้ปัญหานี้คือ เพิ่มปริมาณอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการชักลากตอนป่า เพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการชักลากตอนป่า เช่น พิจารณาเครื่องจักรกลรุ่นใหม่ ลดขั้นตอนการทำงาน หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำไม้ เช่น การทำไม้สั้น เป็นต้น นอกจากนี้การศึกษานี้ยังได้พัฒนาระบบที่ช่วยค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการขนส่งไม้จากหมอนไม้ไปยังโรงงานรับซื้อ และประเมินค่าใช้จ่ายในการขนส่งของรถบรรทุกหกล้อและรถบรรทุกสิบสองล้อซึ่งพิจารณาตามระยะทางและความลาดชันของถนน

Outputs

Conference

# Internation Conference
1 ดร.ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.วันชัย อรุณประภารัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร.ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์, อาจารย์, ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, "Cost Analysis of Timber Transportation Using pgRouting", The Joint 43rd Annual Meeting of Council on Forest Engineering (COFE) & the 53rd International Symposium on Forest Mechanization (FORMEC), ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, กันยายน - กันยายน 2021, หน้า undefined - undefined

API url