รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2017
  • ลักษณะโครงการ: โครงการเดี่ยว
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

การตรวจสอบย้อนกลับหรือการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้านั้นเป็นปฏิบัติการหรือมาตรการทางการค้าที่สำคัญ ทั้งการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดวงจรของการจัดหาวัตถุดิบ การแปรรูป และการนำสินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาด การดำเนินการทุกขั้นตอนต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ในภาคป่าไม้มีปัญหาที่พบโดยทั่วไปคือ วัตถุดิบไม้ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมบางส่วนได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายและกระบวนการผลิตบางครั้งมีการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ประเทศนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรการ EU FLEGT (EU Forest Law Enforcement, Governance and Trade) เพื่อเป็นหลักประกันว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ได้ผ่านการการภายใต้กรอบของกฎหมาย ธรรมาภิบาล และการค้า ซึ่งสหภาพยุโรปได้กำหนดแนวทางข้อปฏิบัติและมาตรการตามแผนปฏิบัติการ FLEGT โดยมีการประกาศกฎระเบียบการค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เรียกว่า EUTR (The EU Timber Regulation) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2556 เป็นต้นมา และยังกำหนดให้ผู้ปรพะกอบการจัดทำระบบการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (Due Diligence System: DDS) อีกด้วย บรรดาข้อกำหนดของสหภาพยุโรปดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทยสู่สหภาพยุโรป ที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทต่อปี งานวิจัยเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับหรือการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย อันจะสอดคล้องกับ EU FLEGT, EUTR, DDS และ FLEGT ของประเทศไทย อันเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและด้านการตลาดของสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทยในตลาดยุโรปที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาคป่าไม้ของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID กับอุตสาหกรรมไม้ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยด้วยแล้ว ยังไม่เคยมีการศึกษาด้านนี้มาก่อน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อออกแบบ RFID ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไม้ 2. เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RIFD ในอุตสาหกรรมไม้

Abstract

การตรวจสอบย้อนกลับเป็นองค์ประกอบสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน การตรวจสอบย้อนกลับนั้นมีหลายวิธี อาทิเช่น การทาสี การตอกตีตรา การใช้บาร์โค๊ด และการระบุสิ่งของด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) แท็ก RFID ที่มีอยู่ในท้องตลาดนั้นไม่เหมาะสำหรับงานป่าไม้ ความชื้นและสิ่งสกปรกเป็นอุปสรรคสำคัญในการใช้เทคโนโลยีนี้ในพื้นที่ป่าและสภาพการทำงานที่สมบุกสมบัน จำเป็นที่จะต้องมีการการพัฒนาแท็ก RFID ขึ้นมาโดยเฉพาะโดยมุ่งเน้นแท็กที่มีความคงทนและทนต่อความชื้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแท็ก RFID จำนวน 8 ชนิดในแง่ของความทนทานต่อความชื้นและความสามารถในการฝังตัวอยู่ในเนื้อไม้ แท็กทั้งหมดได้รับการทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม การทดสอบแรงกระแทก อุณหภูมิและความชื้นได้รับการทดสอบในห้องปฏิบัติการขณะที่ความทนทานและความสามารถในการฝังตัวอยู่ในเนื้อนั้นทำการทดสอบโดยตรงในภาคสนาม ในระหว่างการทดสอบภาคสนามแท็ก UHF ถูกฝังลงในไม้ทันทีภายหลังจากที่ต้นไม้ล้มลง หลังจากนั้นทำการชักลากด้วยช้าง รถแทรกเตอร์ และขนย้ายไปยังหมอนไม้ด้วยรถบรรทุก อัตราการคงอยู่ของแท็กในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ถูกบันทึกไว้ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความชื้นมีผลต่อประสิทธิภาพของแท็กเพียงเล็กน้อย ความสามารถในการฝังตัวอยู่ในเนื้อไม้และความทนทานมีอิทธิพลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีแท็กบางส่วนหลุดหายไปในระหว่างขั้นตอนการชักลาก โดยแท็กนั้นหลุดหายแตกต่างกันระหว่าง 10-50% ขึ้นอยู่กับชนิดของแท็ก นอกจากนี้ได้มีการสังเกตจุดแข็งและข้อเสียของแท็กแต่ละชนิดไว้เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบคุณลักษณะแท็กที่เหมาะสม

Outputs

Journals

# Internation Journal
1 Tomi Kaakkurivaara, ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "Comparison of radio frequency identification taghousings in a tropical forestry work environment", Australian Forestry, ปีที่ 82, ฉบับที่ 4, พฤศจิกายน 2019 - undefined NaN, หน้า 181 - 188
2 Tomi Kaakkurivaara, Dr.Nopparat Kaakkurivaara, Assistant Professor, "Comparison of radio frequency identification taghousings in a tropical forestry work environment", Australian Forestry, ปีที่ 82, ฉบับที่ 4, พฤศจิกายน 2019 - undefined NaN, หน้า 181 - 188

Conference

# Internation Conference
1 ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, Tomi Kaakkurivaara, "DESIGNING OF RFID TAG FOR TIMBER INDUSTRY TRACEABILITY", 6th International Forest Engineering Conference “Quenching our thirst for new Knowledge”, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, เมษายน - เมษายน 2018, หน้า undefined - undefined
2 Dr.Nopparat Kaakkurivaara, Assistant Professor, Tomi Kaakkurivaara, "DESIGNING OF RFID TAG FOR TIMBER INDUSTRY TRACEABILITY", 6th International Forest Engineering Conference “Quenching our thirst for new Knowledge”, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, เมษายน - เมษายน 2018, หน้า undefined - undefined
# Conference
1 ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, Tomi Kaakkurivaara, "การคัดเลือกแท็กอาร์เอฟไอดีที่เหมาะกับงานป่าไม้", การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.2561, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, สิงหาคม - สิงหาคม 2018, หน้า undefined - undefined
2 Dr.Nopparat Kaakkurivaara, Assistant Professor, Tomi Kaakkurivaara, "การคัดเลือกแท็กอาร์เอฟไอดีที่เหมาะกับงานป่าไม้", การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.2561, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, สิงหาคม - สิงหาคม 2018, หน้า undefined - undefined

API url