รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2015
  • ลักษณะโครงการ: โครงการเดี่ยว
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยที่ได้รับงบเงินรายได้ ส่วนกลาง มก.
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:
  • url: https://drive.google.com/file/d/0B9ys12r3jAJxOC15Tkp6dE9qNU0/view

ความเป็นมาของโครงการ

ในวงการป่าไม้ปัจจุบันคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงการแก้ไขพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและมุ่งเน้นการส่งเสริมเกษตรกรมากยิ่งขึ้น เดิมที พ.ร.บ.สวนป่า ได้บัญญัติขึ้นโดยมีเหตุผลว่า เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการค้าในที่ดินของรัฐและเอกชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีงานทำและผลิตไม้เพื่อเป็นสินค้า ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ทำไม้ให้มีปริมาณมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่ามีความมั่นใจในสิทธิและโยชน์ที่จะได้รับจากการปลูกสร้างสวนป่า ทางคณะวนศาสตร์และผู้ปลูกป่าเศรษฐกิจหลายๆคน ได้ให้ความสำคัญในประเด็นการแก้ไข พรบ. สวนป่า เป็นอย่างมาก นอกจากมาตรา 7 ที่กำลังตกเป็นประเด็นถกเถียงแล้วนั้น ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของการรับรองถิ่นกำเนิดหรือแหล่งที่มาของไม้ ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 13 ที่ว่า “ไม?ที่จะนําเคลื่อนที่ออกจากสวนป?า ต?องมีรอยตราตีตอก หรือประทับหรือแสดงการเป็นเจ?าของ และในการนําเคลื่อนที่ ผู?ทําสวนป่าต?องมีหนังสือรับรองการแจ?งตลอดจนบัญชีแสดงรายการไม?กํากับไปด?วยตลอดเวลาที่นําเคลื่อนที่” และ มาตรา 15 ที่ว่า “เพื่อประโยชน?ในการตรวจสอบการตัดหรือโค?นไม?ในสวนป?าตลอดจนการนําเคลื่อนที่ไม?ออกจากสวนป่า ผู?ทําสวนป?าต?องเก็บรักษาหนังสือรับรองการแจ?ง บัญชีแสดงรายการไม?และเอกสารสําคัญที่เกี่ยวกับการดังกล?าวไว?ที่สวนป?าเพื่อแสดงต่อพนักงานเจ?าหน?าที่” เนื้อความโดยรวมของทั้งสองมาตราสามารถสรุปได้ว่า “ผู้ประกอบการหรือเจ้าของสวนป่าจะต้องมีการระบุหรือรับรองแหล่งที่มาของไม้ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดของการรับรองถิ่นกำเนิดที่มาของไม้นั้น จะต้องไม่ได้มาจากการบุกรุกป่าธรรมชาติ ดังนั้นงานวิจัยนี้จะสามารถช่วยตอบคำถามในลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี และจะสามารถทำให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์และเกิดความสบายใจได้มากยิ่งขึ้น หากต้องถูกตรวจสอบระหว่างที่มีการเคลื่อนที่ไม้ กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability system) จึงนับว่ามีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดระบบการตรวจสอบจุดที่เกิดข้อบกพร่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน นับตั้งแต่วัตถุดิบจนกระทั่งถึงมือลูกค้าปลายทางได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาให้กับผู้ผลิตแล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีต่อผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายในห่วงโซ่การผลิต ระบบนี้ช่วยสร้างหลักประกันว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการ ลดต้นทุน ลดความสูญเสียให้แก่ผู้ผลิต ตลอดจนลดการสูญเสียตลาดส่งออกอีกด้วย ลักษณะพื้นฐานของระบบตรวจพิสูจน์ย้อนกลับคือจะต้องมีการกำหนดรหัสเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ทำให้ทราบว่าแหล่งผลิตอยู่ที่ใด มีการขนส่งเมื่อใด จากที่ใดไปที่ใดบ้าง มีการแปรรูปเมื่อใดและที่ใด หลังจากแปรรูปแล้วส่งไปที่ใดบ้าง เป็นต้น และหลักการสำคัญของระบบการตรวจสอบย้อนกลับคือ จะต้องรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ให้ข้อมูลเที่ยงตรง มีระบบป้องกันการให้ข้อมูลเท็จ จากนั้นการจัดเก็บ การเรียกดู ตรวจสอบ ตลอดจนการถ่ายโอนข้อมูลก็จะต้องทำได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ในการจัดทำบัญชีแสดงรายการไม้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น โดยปกติพนักงานจะจดบันทึกข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำเพาะของไม้ด้วยมือ (เช่น ความโตของท่อนไม้ ความยาวท่อนไม้ แหล่งที่มาของไม้ ฯลฯ) จากนั้นจึงนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลระหว่างการนำเข้าข้อมูลเนื่องจากความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากพนักงงานเอง นอกจากนี้วิธีการดั้งเดิมดังกล่าวยังใช้เวลาค่อนข้างมากในการนำเข้าข้อมูลและสืบค้นข้อมูลย้อนกลับหากต้องการตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น หากผลิตภัณฑ์ไม้นั้นได้รับการส่งออกไปยังต่างประเทศ และลูกค้าได้ร้องขอให้มีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มาของไม้ หากใช้วิธีการดั้งเดิมจะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับนั้นทำได้อย่างยากลำบากและล่าช้าเกินกว่ากำหนดที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้อาจทำให้เกิดผลเสียต่อมูลค่าการส่งออกเป็นจำนวนมาก กลยุทธ์ในการบริการจัดการในอนาคตจำเป็นที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ อาทิเช่น ระบบบ่งชี้และจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic Identification and Data Collection: AIDC) เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพ ลดความคลาดเคลื่อน ดำเนินการได้อย่างเร็วรวดและถูกต้องแม่นยำ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีและ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภทโดยเฉพาะรหัสแท่งและระบบบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุที่มีการใช้อยู่อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมทางการเกษตร ดังนั้นงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกป่ามีความเชื่อมั่นและอุ่นใจมากขึ้น หากมีการพัฒนาให้มีระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน?ในการตรวจสอบการตัดหรือโค?นไม?ในสวนป?าตลอดจนการนําเคลื่อนที่ไม?ออกจากสวนป่า สามารถยืนยันบัญชีแสดงรายการไม?และเอกสารสําคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงต?อพนักงานเจ้าหน?าที่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์โดยรวมของงานวิจัย คือ เพื่อพัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ของอุตสาหกรรมไม้ ให้มีความรู้และความเข้าใจในแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยและเหมาะกับองค์กร และเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพโซ่อุปสงค์อุปทานของภาคอุตสาหกรรมไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังต่อไปนี้ • เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ระบบบ่งชี้อัตโนมัติแบบรหัสแท่ง และ ระบบบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุในอุตสาหกรรมไม้ • เพื่อเปรียบเทียบจุดแข็ง จุดด้อย ของแต่ละวิธี และเสนอแนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเหมาะสมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้

Abstract

กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับนั้นเป็นปฏิบัติการหรือมาตรการทางการค้าที่สำคัญทั้งการส่งออกและนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดวงจรของการจัดหาวัตถุดิบ การแปรรูป และการนำสินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาด งานวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับหรือการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับ EU FLEGT, EUTR, DDS และ FLEGT ของประเทศไทย อันเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและด้านการตลาดของสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทยในตลาดยุโรปที่นับวันจะยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ระบบบ่งชี้อัตโนมัติแบบบาร์โค้ดและระบบบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ (RFID)ในอุตสาหกรรมไม้ และเพื่อเสนอแนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเหมาะสมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบบ่งชี้อัตโนมัติแบบบาร์โค้ดและอาร์เอฟไอดี ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงในการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยี ความพร้อม และงบประมาณ โดยการวิจัยนี้กำหนดให้วิธีการทำงานแบบเดิม(การประทับตราสวนป่าและการตีเลขเรียง)เป็นระบบควบคุม เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งการดำเนินการวิจัยสามารถแบ่งขั้นตอนการศึกษาหลักออกได้เป็น 1. การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลปฐมภูมิต่างๆ 2. การออกแบบระบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาวะแวดล้อม 3. การทดสอบระบบที่ได้วางไว้ และ 4. ทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจไม้สักก่อนเนื่องจากเป็นไม้ที่มีมูลค่าสูง โดยทำการทดสอบในสามด้านด้วยกัน กล่าวคือ ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าย และการยอมรับจากผู้ใช้งาน จากผลการศึกษาพบว่าบาร์โค้ดนั้นมีต้นทุนที่ต่ำหว่าเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี แต่ทว่าบาร์โค้ดมีข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้งานในหลายด้าน อาทิ การอ่านข้อมูลจะต้องอ่านทีละท่อน แผ่นบาร์โค้ดง่ายต่อการหลุดลอก หากบาร์โค้ดได้รับความเสียหายจากการชักลากหรือสิ่งปนเปื้อนเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะไม่สามารถอ่านค่าได้ และง่ายต่อการลอกเลียนแบบ ดังนั้นบาร์โค้ดจึงยังไม่เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมไม้ในปัจจุบัน นอกเสียจากจะมีการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนแผ่นพลาสติกและทำการฝังแผ่นพลาสติกนั้นลงไปยังหน้าไม้ จึงจะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ในทางกลับกันต้นทุนก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีความเป็นไปได้สูงในการประยุกต์ใช้ในทางป่าไม้เมื่อเทียบกับวิธีการอื่นๆ ทั้งนี้เพราะอาร์เอฟไอดีสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีความคงทน สามารถอ่านค่าได้พร้อมกันคราวละจำนวนมาก และยากต่อการเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลง แต่ทว่าต้นทุนของป้ายอาร์เอฟไอดียังคงสูงอยู่มาก หากในอนาคตเราสามารถลดต้นทุนต่อหน่วยให้มีต้นทุนต่อหน่วยไม่เกิน 15 บาท/แท็ก จะส่งเสริมให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีความน่าสนใจควรค่าแก่การลงทุนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การออกแบบลักษณะของแท็กก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ในอนาคตจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงแท็กให้มีความคงทนและเหมาะสมกับงานป่าไม้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเน้นความทนทานต่อแรงกระแทก และความคงทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นสำคัญ

Outputs

Journals

# Internation Journal
1 ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, "From theory to practice: RFID in Thai forestry businesses", Journal of Tropical Forest Rresearch, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, มกราคม - มิถุนายน 2017, หน้า 51 - 57
2 ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, "Possibilities of using barcode and RFID technology in Thai timber industry", Maejo International Journal of Science and Technology, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, มกราคม - มีนาคม 2019, หน้า 29 - 41

Conference

# Conference
1 ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์, "เทคโนโลยีแห่งอนาคตกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับของอุตสาหกรรมป่าไม้ไทย", การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.2559 "เศรษฐกิจนิเวศบนฐานการป่าไม้", ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, พฤษภาคม - พฤษภาคม 2016, หน้า undefined - undefined

API url