รายละเอียดโครงการ

  • แหล่งทุน: [object Object]
  • ปีงบประมาณ: 2015
  • ลักษณะโครงการ: โครงการเดี่ยว
  • ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการ: ดร.พยัตติพล ณรงคะชวนะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ผู้ร่วมวิจัย:

ความเป็นมาของโครงการ

จากปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินถล่ม ดินเลื่อนไหล เป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ป่าไม้ที่มีความลาดชัน เหตุการณ์เหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การป้องกันหรือแก้ปัญหาแผ่นดินถล่มนั้น ในต่างประเทศ ใช้วิธีสร้างเขื่อนกันดินไหล เพื่อปกป้องบริเวณที่อยู่อาศัยของราษฎร ร่วมกับการสร้างทางระบายน้ำใต้ดินเพื่อลดแรงดันน้ำในดิน ซึ่งเป็นมาตรการทางวิศวกรรมที่ใช้เงิน แรงงาน และระยะเวลา ประเทศไทยยังไม่มีงานในลักษณะนี้เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ การป้องกันแก้ไขปัญหาจะใช้วิธีปรับเส้นทางน้ำ ร่วมกับการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ แต่เนื่องจากการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้โดยการปลูกพืชป่าในบริเวณที่เกิดภัยพิบัตินั้น จำเป็นต้องทราบถึงสมบัติเชิงกลของรากพืชไม้ป่าชนิดต่างๆ เพราะรากพืชจะเป็นตัวช่วยยึดดิน หรือช่วยเสริมแรงให้ดินมีแรงต้านแรงเฉือนมากขึ้น การศึกษาเรื่องสมบัติเชิงกลของรากพืช เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา (Ziemer and Swanston, 1977) และครอบคลุมไปถึงพืชตระกูลหญ้า ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่นิยมใช้ปลูกเพื่อป้องกันตลิ่งพัง ทำให้สามารถแนะนำชนิดพืชที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าได้ (Stokes et.al. 2007) สำหรับประเทศไทย การศึกษาเรื่องนี้มีน้อยมาก เพราะใช้ระยะเวลาศึกษานาน มีปัญหาอุปสรรคในเรื่องการตัดต้นไม้เพื่อดึงรากที่อยู่ใต้ดิน และงานส่วนใหญ่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ชนิดพืชที่ศึกษามากที่สุดได้แก่ หญ้าแฝก (vetiver grass) และกระถินเทพา (พานิชและนรินทร์ 2547) พืชไม้ป่าชนิดอื่นๆ มีการทดสอบการรับแรงดึงรากจากต้นไม้ใหญ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ยังขาดการศึกษาถึงระบบรากและการรับแรงดึงรากพืชไม้ป่า ในช่วงอายุตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาสมบัติเชิงกลของรากพืชไม้ป่า เช่น ยางนา สัก เป็นต้น เพื่อหาความสามารถในการรับแรงดึงราก นับตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงช่วงอายุ 2 ปี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าการรับแรงดึงรากที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการพิจารณาเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าไม้ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาการกระจายของรากพืช (root distribution) ที่เป็นไม้ป่า 2. ทดสอบแรงถอนดึงรากพืชไม้ป่าในช่วงอายุต่างๆ (0-2 ปี) 3. หาสมบัติการรับแรงดึงของรากพืชไม้ป่าร่วมกับสมบัติทางวิศวกรรมของดิน

Outputs

Conference

# Internation Conference
1 ดร.พยัตติพล ณรงคะชวนะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "Root tensile properties of five selected forest trees", Eco-Engineering Symposium 2017: Application of Technology for Sustainability of Natural Resources, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, กรกฎาคม - กรกฎาคม 2017, หน้า undefined - undefined

API url