รายละเอียดโครงการ
- แหล่งทุน: [object Object]
- ปีงบประมาณ: 2011
- ลักษณะโครงการ: โครงการเดี่ยว
- ประเภทโครงการ: โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
- หัวหน้าโครงการ: ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์, รองศาสตราจารย์
- ผู้ร่วมวิจัย:
ความเป็นมาของโครงการ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนอันเป็นผลพวงมาจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่ากำลังได้รับความสนใจ ดังนั้นในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเพื่อใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงและถ่านหินซึ่งอาจจะหมดไปในอนาคต โดยพลังงานทดแทนนี้รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช วัสดุทางการเกษตร วัชพืช สิ่งเหลือจากการเกษตร และไม้ชนิดต่างๆ โดยข้อดีของพลังงาน ชีวมวลแตกต่างจากพลังงานเชื้อเพลิงประเภทปิโตรเลียมคือ มีการปลูกทดแทนได้ และในปัจจุบันการใช้พลังงานชีวมวลได้รับการพัฒนาไปมากในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบยุโรปยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ สวีเดน มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานชีวมวล สำหรับในเอเชียอย่างเช่น ประเทศอินเดีย รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเนื่องจากเป็นทรัพยากรหมุนเวียน มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับเกษตรกรในประเทศ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการใช้พืชพลังงานเป็นพลังงานทดแทนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ ทั้งยังคงประโยชน์อื่นที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างความเจริญในพื้นที่ชนบทให้มีพลังงานไฟฟ้าและความร้อนใช้อย่างพอเพียงและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการปลูกและผลผลิตของพืชแซมชนิดต่างๆ ที่ปลูกในสวนปาล์มน้ำมันอายุ 0-3 ปี
2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต มวลชีวภาพ ค่าพลังงานความร้อนและคุณสมบัติทางเคมีของไม้โตเร็ว 4 ชนิด
Abstract
การจัดการพืชพลังงานแบบครบวงจร ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้ทำการศึกษาปลูกปาล์มพลังงานอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 3 ปี ณ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ ในระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและ การปลูกพืชแซมเพื่อให้ได้รายได้ในช่วงระยะเวลาแรกก่อนที่จะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันในปีที่ 3 โดย ใช้พืช 4ชนิด ได้แก่ อ้อย สับปะรด สบู่ดำ กระถินเทพา ซึ่งพบว่า การปลูกพืชแซมไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันในช่วงแรก และได้รายได้เสริมจากการปลูกพืชแซมที่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกอ้อยและสับปะรดที่มีรายได้เพิ่ม 2,650 และ 1,523.35 บาท/แปลงย่อย 12x12 ม. นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดการวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน