รายละเอียดโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกและการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นบาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าในอนาคตพลังงานที่มีเหล่านี้อาจจะหมดไป อีกทั้งในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนอันเป็นผลพวงมาจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่ากำลังได้รับความสนใจ ดังนั้นในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกจึงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเพื่อใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงและถ่านหินซึ่งอาจจะหมดไปในอนาคต โดยพลังงานทดแทนนี้รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช วัสดุทางการเกษตร วัชพืช สิ่งเหลือจากการเกษตร และไม้ชนิดต่างๆ โดยข้อดีของพลังงานชีวมวลแตกต่างจากพลังงานเชื้อเพลิงประเภทปิโตรเลียมคือ มีการปลูกทดแทนได้ และในปัจจุบันการใช้พลังงานชีวมวลได้รับการพัฒนาไปมากในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบยุโรป ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ สวีเดน มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานชีวมวล สำหรับในเอเชียอย่างเช่น ประเทศอินเดีย รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเนื่องจากเป็นทรัพยากรหมุนเวียน มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับเกษตรกรในประเทศ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการใช้พืชพลังงานเป็นพลังงานทดแทนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ ทั้งยังคงประโยชน์อื่นที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างความเจริญในพื้นที่ชนบทให้มีพลังงานไฟฟ้าและความร้อนใช้อย่างพอเพียงและยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาการปลูกและผลผลิตของพืชแซมชนิดต่างๆ ที่ปลูกในสวนปาล์มน้ำมันอายุ 0-3 ปี 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต มวลชีวภาพ ค่าพลังงานความร้อนและคุณสมบัติทางเคมีของไม้โตเร็ว 4 ชนิด 3. เพื่อศึกษากระบวนการทำบริสุทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดได้จากน้ำมันปาล์มดิบอันประกอบด้วย แคโรทีน (Carotene) โทโคเฟอรอล (Tocopherols) โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols) และยูบิควิโนน (Ubiquinones) และศึกษาการใช้สารสกัดที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว 4. เพื่อศึกษาผลของการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระต่อการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบด้วยวิธีชีวภาพและศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของไบโอดีเซลที่ผลิตได้

Abstract

การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมัน ปลูกปาล์มน้ำมันระยะ 12 x 12 เมตร โดยใช้แผนผังการทดลองแบบ Randomized Block Design จำนวนซ้ำของพืชแซม คือ 4 ซ้ำ ระยะปลูกของพืชแซมแต่ละชนิด ได้แก่ อ้อย - อ้อย ระยะปลูก 1.5 x 0.5 เมตร สับปะรด ระยะปลูก 1 x 1 เมตร กระถินเทพา ระยะปลูก 3 x 3 เมตร และ สบู่ดำ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ผลการทดลองพบว่าการเจริญเติบโตทางด้านความสูงของปาล์มน้ำมันและพืชแซมชนิดต่างๆ เป็นระยะเวลา 10 เดือน ปาล์มน้ำมัน มีความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์ความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อพิจารณาความสูงที่เพิ่มขึ้นของพืชแซม พบว่า อ้อยแซมปาล์มน้ำมันความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 111.24 + 11.96 เซนติเมตร/ต้น แตกต่างกับชุดทดลอง สับปะรดแซมปาล์มความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 24.11 + 7.63 เซนติเมตร/ต้น และกระถิ่นเทพาแซมปาล์มน้ำมันความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 144.53 + 33.04 เซนติเมตร/ต้น อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิตเมื่อเทียบกับชุดทดลอง สบู่ดำแซมปาล์มความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 107.55 + 1.73 เซนติเมตร/ต้น (p>0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ความสูงที่เพิ่มขึ้น พบว่าอ้อยแซมปาล์มน้ำมัน 79.96 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกับชุดทดลองสับปะรดแซมปาล์ม 42.80 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดการทดลอง กระถิ่นเทพาแซมปาล์มน้ำมัน 70.29 เปอร์เซ็นต์ และชุดทดลองสบู่ดำแซมปาล์มน้ำมัน 77.25 เปอร์เซ็นต์(p>0.05) การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมัน พบว่าชุดการทดลองกระถิ่นเทพาแซมปาล์มน้ำมันมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำมันปาล์มดิบที่ผ่านการกำจัดกัมนั้นพบว่า สภาวะการสกัดที่สารสกัดมี antioxidant activity ในรูปของ scavenging effect to DPPH และ TBAR สูงที่สุดคือการสกัดน้ำมันปาล์มด้วยเอทานอลเข้มข้น 50% ในอัตราส่วนน้ำมัน: 50%เอทานอล เท่ากับ 1: 35 (กรัม: มล.) ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากการวัดปริมาณสาร anti-oxidants ทั้ง 4 ชนิด คือ เบต้าแคโรทีน โทโคเฟอรอล โทโคไตรอีนอล และ ยูบิคิวโนน พบว่า ปริมาณเบต้าแคโรทีนของสารสกัดที่สกัดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง มีปริมาณสูงสุด คือ 1804.22 ? 3.14 ppm แต่ปริมาณโทโคเฟอรอล โทโคไตรอีนอล และ ยูบิควิโนน มีปริมาณสูงที่สุดเมื่อสกัดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ผลของแอนติออกซิแดนท์ธรรมชาติต่อ ค่าความหนืด, ค่ากรด, ค่าเพอร์ออกไซด์และเสถียรภาพต่อการเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบ พบว่า ไบโอดีเซลจากปาล์มดิบที่กำจัดแอนติออกซิแดนท์ธรรมชาติและไบโอดีเซลที่ได้จากปาล์มดิบที่ไม่กำจัดแอนติออกซิแดนท์มีค่าความหนืดและค่ากรดไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันไบโอดีเซลทั้งสองตัวอย่างนี้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ( P<0.05 ) และผลการตรวจวิเคราะห์ เสถียรภาพต่อการเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของไบโอดีเซลจากปาล์มดิบที่กำจัดแอนติออกซิแดนท์ธรรมชาตินั้นพบว่าเสถียรภาพ ต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันมีค่า 25.70 ชั่วโมง

Outputs

Conference

# Conference
1 ดร.ณกัญภัทร จินดา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, นันท์ปพร มหาไม้, ฐานิดา มูลนิกา, "ผลของออกซิแดนซ์สังเคราะห์ต่อคุณภาพการคงทนต่อความร้อนของไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบ", นิทรรศการ เรื่อง การจัดการพลังงานแบบไร้ของเสีย กระทรวงพลังงานฯ จ.กระบี่, ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, สิงหาคม - สิงหาคม 2009, หน้า undefined - undefined
2 ดร.ณกัญภัทร จินดา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, "ผลของแอนติออกซิแดนซ์ธรรมชาติต่อคุณภาพการคงทนต่อความร้อนของไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบ", นิทรรศการ การจัดการพลังงานแบบปราศจากของเสีย กระทรวงพลังงานฯ ณ จ.กระบี่ , ปีที่ undefined, ฉบับที่ undefined, สิงหาคม - สิงหาคม 2009, หน้า undefined - undefined

API url