2559 (2559-2560)
ดร.ราตรี วงศ์ปัญญา, รองศาสตราจารย์
ดร.ปิติ อ่ำพายัพ
โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. เพื่อค้นหายีนฟิโคลินในกุ้งกุลาดำ
2. เพื่อตรวจสอบการแสดงออกของยีนฟิโคลินในเนื้อเยื่อต่างๆ ของกุ้งกุลาดำ
3. เพื่อผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนฟิโคลิน
ฟิโคลินเป็นโปรตีนที่สามารถจับกับคาร์โบไฮเดรตบนผิวเซลล์ได้ โปรตีนนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการจดจำและกำจัดเชื้อโรคในภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ในการศึกษานี้ได้มีการระบุและแยกลักษณะยีนฟิโคลินจากกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การวิเคราะห์ความยาวเต็มโดยใช้เทคนิค Rapid Amplification of cDNA Ends (RACE) พบว่าความยาวตลอดสายของยีนประกอบด้วย 1,007 bp พบว่า 918 bp เป็นรหัสกรดอะมิโน 306 ตัว โดยโปรตีนประกอบด้วยส่วน signal peptide ส่วน unknown และส่วนที่คล้าย fibrigenogen และเมื่อตรวจสอบการแสดงออกของยีนในอวัยวะต่างๆ ด้วยเทคนิค semi-quantitative RT-PCR พบว่ายีนมีการแสดงออกหลักในลำไส้จากนั้นทำการผลิตและทำให้บริสุทธิ์โปรตีน recombinant เพื่อศึกษาการทำงานของโปรตีนฟิโคลิน โดยยีนฟิโคลินถูกโคลนเข้าพลาสมิด 3 ชนิด ได้แก่ pET28b-ficolin, pET32a-ficolin และ pET43-ficolin ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าโปรตีนรีคอมบิแนนท์ที่อยู่ในพลาสมิด pET28b-FLP และ pET32a-FLP สามารถสร้างโปรตีนในรูปตกตะกอนได้ ซึ่งรูปแบบนี้ไม่สามารถจะนำไปศึกษาสมบัติของโปรตีนได้ อย่างไรก็ตามการผลิตโปรตีนที่ติดฉลาก Nus (rPmficolin) โดย pET43-ficolin สามารถผลิตโปรตีนในรูปที่ละลายได้ ซึ่งโปรตีนที่ผลิตได้จะนำมาการวิเคราะห์ด้วย western blot ทำบริสุทธิ์โปรตีนและการวิเคราะห์คุณสมบัติโปรตีน ต่อไป ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟิโคลินที่อาจเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่เกิดจากกุ้งได้
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์