โครงการเดี่ยว

  • 2555

  • inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ

  • inนางสาวทิพย์ธิดา แก้วตาทิพย์,inดร.สุมิตรา บุญบำรุง,inนางสาวเพลินใจ ตังคณะกุล,exProfessor Dr. Herv? THIS

  • โครงการวิจัยและถ่ายทอดงานวิจัยสู่ประชาชน(สำหรับศูนย์วิจัย/สถานีวิจัยในสังกัดของ มก.)

  • 1. ศึกษาสภาวะในการผลิตนมถั่วเหลืองที่ให้ปริมาณสารหอมระเหยสูงสุด 2. ศึกษาผลของเวย์โปรตีนเข้มข้น และอุณหภูมินมถั่วเหลือง ที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของนมถั่วเหลือง ได้แก่ กลิ่นรส ปริมาณสารหอมระเหย และสีของนมถั่วเหลือง 3. สร้างระเบียบวิธีการผลิตนมถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ

  • การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเคมีกายภาพของอาหารเป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมศึกษากันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาการปรุงอาหารสมัยใหม่ได้ ดังที่เห็นผลสำเร็จจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การปรุงอาหาร (molecular gastronomy) ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเคมีกายภาพของนมถั่วเหลืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านกลิ่นรส ยังขาดข้อมูลที่แน่ชัด งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะกลิ่นรสของนมถั่วเหลืองเมื่อผ่านกระบวนการปรุงโดยการต้มเดือดและเสริมคุณค่าทางโภชนาการด้วยการเติมเวย์ การสกัดโมเลกุลสารหอมระเหยจากตัวอย่างนมถั่วเหลืองด้วยวิธี solid phase microextraction (SPME) ควบคู่กับ gas chromatography/ mass spectroscopy (GC/MS) เปิดเผยให้เห็นโมเลกุลสารหอมระเหยสำคัญทั้งหมดในตัวอย่างนมถั่วเหลือง โดย pentanal และ hexanal เป็นโมเลกุลสารหอมระเหยที่มีความเข้มข้นสูงสุด ทำให้กลิ่นหอมมัน กลิ่นวานิลลา เป็นกลิ่นนำในนมถั่วเหลือง เมื่อต้มเดือด โมเลกุลสารหอมระเหย 2-ethylfuran และ 2-pentylfuran ซึ่งมีคุณสมบัติกลิ่นกาแฟ กลิ่นเผา และกลิ่นชะเอ็มจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ในขณะที่กลิ่นเหม็นเขียว ที่เกิดจากโมเลกุล 2-butenal จะหายไป การเติมเวย์เพียง 5 wt% ในนมถั่วเหลือง ส่งผลให้ปริมาณโมเลกุล 2-ethylfuran, 1-hexanol, heptanal, octanal และ nonanal ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งเพิ่มความเข้มข้นของเวย์ในนมถั่วเหลือง โมเลกุลสารหอมระเหยที่ตรวจวัดได้ยิ่งลดลง โดยเฉพาะ pentanal และ 2-ethylfuran ที่มีอัตราการลดลงสูงถึง 0.3 และ 0.1 ?g/g/เวย์ wt% ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าการเติมเวย์ลงในนมถั่วเหลืองที่อุณหภูมิห้องจะเหมาะสมกว่าการเติมเวย์ลงในนมถั่วเหลืองร้อน งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลสารหอมระเหยสำคัญในการต้มนมถั่วเหลือง อีกทั้งยังชี้แนะให้เห็นถึงสถาวะการต้มนมถั่วเหลือง และการเติมเวย์ที่เหมาะสม

  • ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Publish Year National Journal 4
2014 inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ, "วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร (Molecular gastronomy): การเปลี่ยนแปลงทางลักษณะกายภาพโดยไม่ใช้ความร้อน", วารสารอาหาร, ปีที่ 44, ฉบับที่ 1, มกราคม - มีนาคม 2014
2014 inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ, "วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร: กลิ่นคาวไข่ในขนม", วารสารอาหาร, ปีที่ 44, ฉบับที่ 4, ตุลาคม - ธันวาคม 2014
2013 inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ, "วิทยาศาสตร์การปรุงอาหาร: การเปลี่ยนแปลงทางลักษณะกายภาพจากความร้อน", วารสารอาหาร, ปีที่ 43, ฉบับที่ 3, กรกฎาคม - กันยายน 2013
2013 inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ, "วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร (Molecular gastronomy): การเปลี่ยนแปลงทางลักษณะกายภาพโดยไม่ใช้ความร้อน", วารสารอาหาร, ปีที่ 43, ฉบับที่ 4, ตุลาคม - ธันวาคม 2013
Publish Year International Conference 1
2014 inดร.วิชชา ตรีสุวรรณ, inนางสาวทิพย์ธิดา แก้วตาทิพย์, inดร.สุมิตรา บุญบำรุง, inนางสาวเพลินใจ ตังคณะกุล, "Investigation of the odor active compounds in soymilk during cooking and whey addition", 1st Joint ACS AGFD – ACS ICSCT Symposium on Agricultural and Food Chemistry, 5 มีนาคม 2014, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย