2553 (2548-2553)
ดร.นิรันดร์ จันทวงศ์, รองศาสตราจารย์
ดร.ประศาสตร์ เกื้อมณี, รองศาสตราจารย์
,
ดร. อาภารัตน์ มหาขันธ์
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพเชิงบูรณาการเพื่อการแข่งขัน
1. เพื่อคัดเลือกชนิดสาหร่ายสีเขียว ในประเทศไทยที่สามารถสังเคราะห์แสงและผลิตไฮโดรเจนในปริมาณสูง
2. เพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการผลิตไฮโดรเจน
3. เพื่อออกแบบวิธีการและเครื่องมือ (Bioreactor)ในผลิตไฮโดรเจนให้ได้ปริมาณมาก
ได้ศึกษาการสร้างพลังงานจากแป้งของชีวมวลสาหร่ายสีเขียวและสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในประเทศไทยเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคต โดยแป้งในชีวมวลสาหร่ายที่สร้างขึ้นจะถูกย่อยเป็นกรดอินทรีย์ด้วยแลคติคแบคทีเรีย แล้วถูกเปลี่ยนเป็นไฮโดรเจนด้วยแบคทีเรียด้วยสังเคราะห์ จากการศึกษาในสาหร่ายสีเขียว 14 สายพันธุ์ และสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว 25 สายพันธุ์ พบว่าสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว Nostoc muscurum TISTR 8871 สามารถผลิตชีวมวลและสะสมแป้งสูงสุด โดยเลี้ยงในอาหารสูตร BG-11 ที่อุณหภูมิ 28+1 องศาเซลเซียส ภายใต้ความเข้มแสง 60 ไมโครโปรตอนตารางเมตรต่อวินาที และเขย่า 150 รอบต่อนาที ระยะเวลา 20 วัน ชีวมวลถูกทำให้เข้มข้นจากนั้นนำไปหมักด้วยแอนแอโรบิคแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์เพื่อเปลี่ยนเป็นกรดอินทีย์ ซึ่งชีวมวลเข้มข้นที่หมักด้วยแอนแอโรบิคแบคทีเรียสายพันธุ์ Lactobacillus brevis subsp. brevis TISTR 868 สามารถผลิตกรดกรดแลคติคสูงสุด ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจนเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยผลิตกรดมาลิค กรดแลคติค กรดอะซิติค กรดซิติค และกรดบิวทิริค เท่ากับ 0.00, 3,353.10, 1,051.45, 301.13 และ 1.99 มิลลิโมลลาร์ ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสายพันธุ์ 12.1 สามารถผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากชีวมวลสาหร่ายและน้ำเสียที่ผ่านการหมักด้วยแอนแอโรบิคแบคทีเรียสายพันธุ์ Lactobacillus brevis subsp. brevis TISTR 868 ได้ในอัตรา 17.55 และ 6.51 ml/L culture/h ตามลำดับ
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์