API Result

Server URL

https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/

Endpoint URL
API URL

URL: https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/projects/20206220159001

Result
{
    "totalResult": 1,
    "startPage": 1,
    "itemsPerPage": 1,
    "entry": [
        {
            "projectDetail": {
                "forestUrl": "https://research.ku.ac.th/forest/Project.aspx?ProjectNumber=6220159001&BudgetYear=2020",
                "projectID": "20206220159001",
                "projectName": "การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อประเมินมวลชีวภาพของไม้ยางพารา",
                "projectNameEn": "Mobile Application Development on Biomass Estimation of Rubber Wood",
                "source": {
                    "name": "เงินงบประมาณมหาวิทยาลัย",
                    "type": "Internal"
                },
                "budget": 0,
                "organization": {
                    "orgID": "010405",
                    "name": "ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์"
                },
                "type": "โครงการย่อยในชุดโครงการ \"บูรณาการรูปแบบการตัดฟันไม้ยางพาราเพื่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ\"",
                "budgetYear": "2020",
                "startYear": "2019",
                "endYear": "2021",
                "head": "ดร.ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์",
                "team": [
                    {
                        "sequence": 1,
                        "researcherID": "500226",
                        "prefix": "ดร.",
                        "researcherName": "ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง",
                        "academicPosition": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์",
                        "position": "หัวหน้าโครงการ",
                        "type": "Internal Researcher",
                        "workRatio": 40
                    },
                    {
                        "sequence": 2,
                        "prefix": "",
                        "researcherName": "ยูระกิ ฮูทโตเนน",
                        "position": "ผู้ร่วมวิจัย",
                        "type": "External Researcher",
                        "workRatio": 20
                    },
                    {
                        "sequence": 3,
                        "researcherID": "400026",
                        "prefix": "ดร.",
                        "researcherName": "รุ่งเรือง พูลศิริ",
                        "academicPosition": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์",
                        "position": "ผู้ร่วมวิจัย",
                        "type": "Internal Researcher",
                        "workRatio": 40
                    }
                ],
                "category": "โครงการวิจัยที่ได้รับงบเงินรายได้ ส่วนกลาง มก.",
                "background": "จากการที่รัฐบาลมีนโยบายยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยกำหนดโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา  ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพผ่านกลไกการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมสำคัญที่ถูกส่งเสริมในโครงการนี้ (สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, 2560) โดยมียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งที่มีบทบาทที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูกจำนวนมากในเขต 3 จังหวัดนี้ โดยสำนักงานสถิติการเกษตร (2560) รายงานสถิติในปีพ.ศ.2559 มีพื้นที่รวม 1,178,854 ไร่ (ฉะเชิงเทรา 204,019 ไร่ ชลบุรี 228,665 ไร่ ระยอง 746,170 ไร่)\r\n\tการใช้ประโยชน์ยางพาราแต่เดิมเน้นเรื่องน้ำยางพาราเป็นหลัก ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนเกษตรกรทั้งในรูปแบบของน้ำยางและเนื้อไม้ หลังจากผลผลิตน้ำยางเริ่มลดน้อยลงไม่คุ้มกับค่าแรงงาน เกษตรกรก็จะขายไม้และปลูกใหม่ การขายไม้ยางพารามีรูปแบบการขายหลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมคือขายเหมาทั้งแปลงให้กับผู้รับเหมา โดยตกลงราคากันตามปริมาตรหรือน้ำหนักไม้ที่คำนวณโดยใช้ประสบการณ์ของผู้รับเหมาและเจ้าของสวนยางพารา ซึ่งบ่อยครั้งเกษตรกรมักจะเป็นผู้เสียเปรียบ เพราะมีประสบการในการคำนวณปริมาตรไม้น้อยกว่าผู้รับเหมา ทำให้ขายไม้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะได้ การพัฒนาวิธีการคำนวณที่แม่นยำ และเป็นเครื่องมือกลางที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงได้จากทุกฝ่าย จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้ใช้พลังงานจากมวลชีวภาพ สมารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นยางพารา ซึ่งแต่เดิมใช้เฉพาะในส่วนของลำต้นเท่านั้น ในขณะที่ส่วนกิ่งและราก ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะประมาณผลผลิต\r\nในทางวิชาการ มีการใช้ความรู้ทางด้านอัลโลเมตรี ซึ่งเป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งของมิติต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตกับน้ำหนัก มาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมิติที่วัดได้ง่าย เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับอก และความสูง กับมวลชีวภาพ ซึ่งค่อนข้างมีความแม่นยำ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์นี้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับสายพันธุ์ พื้นที่ และสิ่งแวดล้อม และมีความซับซ้อนในการสร้างความสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง จึงเป็นการยากต่อเกษตรกรที่จะเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ การสร้างเครื่องมือที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย ก็เป็นอีกประเด็นที่จะต้องคำนึงถึง ด้วยเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ที่มีความสามารถมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ลงโปรแกรมเพิ่มเติมได้ ในราคาที่หลากหลาย ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ จากความสามารถนี้หากนำผลการศึกษาสมการคำนวณมวลชีวภาพของไม้ยางพารา ที่ครอบคลุมสายพันธุ์ ระยะปลูก และอายุ ที่ระยะตัดฟันของเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดนี้ มาพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือ ที่เกษตรกร รวมทั้งผู้รับเหมา สามารถเข้าถึงได้ ก็จะช่วยให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานมวลชีวภาพ เป็นไปได้ในทิศทางที่ดีขึ้น\r\n\r\n",
                "objective": "1) เพื่อหาสมการแอลโลเมตรีที่เหมาะสมในการใช้ประเมินมวลชีวภาพของยางพาราสายพันธุ์ต่างๆ ในระยะตัดฟัน\r\n2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถประเมินมวลชีวภาพได้สะดวกและถูกต้อง\r\n\r\n",
                "abstract": "การศึกษาเรื่องการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อประเมินมวลชีวภาพของไม้ยางพารามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสมการแอลโลเมตรีที่เหมาะสมในการใช้ประเมินมวลชีวภาพของยางพาราสายพันธุ์และพื้นที่ปลูกต่าง ๆ และเพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถประเมินมวลชีวภาพได้สะดวกและถูกต้อง โดยศึกษาในพื้นที่สวนยางพาราในเขตจังหวัดจันทบุรี ระยอง และชุมพร โดยใช้วิธีวัดมิติต่าง ๆ ของต้นไม้และหาความสัมพันธ์ในรูปสมการอัลโลเมตรี จากนั้นนำสมการไปพัฒนาโปรแกรมคำนวณที่รองรับการทำงานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่\r\n\r\nผลการศึกษา ได้มีการเก็บข้อมูลจำนวน 7 แปลงตัวอย่าง ใน 2 สายพันธุ์ (PRIM600 และ BPM24) 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี และชุมพร) โดยมีสมการความสัมพันธ์เพื่อหาน้ำหนักแห้งและน้ำหนักสด ของ กิ่งขนาดเล็ก กิ่งขนาดใหญ่ ลำต้น และราก ที่คำนวณจากขนาดความโตที่ความสูงชิดดิน ความโตที่ความสูงระดับ 1.30 เมตร ความโตที่ความสูงระดับ 1.70 เมตร และความสูง ได้สมการทั้งหมด 336 สมการ โดยเลือกนำมาใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมจำนวน 12 สมการ มีค่ามีค่าสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจอยู่ในช่วง 0.59 – 0.97 และเผยแพร่โปรแกรมประยุกต์ผ่านทาง 1)\tGoogle Play Store: https://play.google.com/store/apps/details?id=tk.chakrit.rubberv และ 2) Website: https://eng.forest.ku.ac.th/project/rubber\r\n",
                "referenceUrl": "",
                "status": "Closed"
            },
            "outputs": [
                {
                    "output": {
                        "outputID": "4-1-3180",
                        "referenceProjectID": "20206220159001",
                        "title": "โปรแกรมประเมินมูลค่าไม้ยางพารา",
                        "detail": "แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือชื่อ \"ประเมินมูลค่าไม้ยางพารา\" ทำงานบนแพลตฟอร์ม Android\nดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Play หรือทางลิงค์ https://play.google.com/store/apps/details?id=tk.chakrit.rubberv",
                        "class": "National",
                        "outputDate": "2021-06-18T00:00:00"
                    }
                }
            ]
        }
    ]
}