API Result

Server URL

https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/

Endpoint URL
API URL

URL: https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/projects/20186110262000

Result
{
    "totalResult": 1,
    "startPage": 1,
    "itemsPerPage": 1,
    "entry": [
        {
            "projectDetail": {
                "forestUrl": "https://research.ku.ac.th/forest/Project.aspx?ProjectNumber=6110262000&BudgetYear=2018",
                "projectID": "20186110262000",
                "projectName": "บูรณาการการทอนไม้ยูคาลิปตัสเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสวนป่าเชิงพาณิชย์",
                "projectNameEn": "Value added from commercial eucalyptus plantations via  bucking optimization",
                "source": {
                    "name": "ทุนอุดหนุนวิจัยมก.",
                    "type": "Internal"
                },
                "budget": 350000,
                "organization": {
                    "orgID": "010405",
                    "name": "ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์"
                },
                "type": "โครงการเดี่ยว",
                "budgetYear": "2018",
                "startYear": "2018",
                "endYear": "2020",
                "head": "ดร.นพรัตน์ คัคคุริวาระ, รองศาสตราจารย์",
                "team": [
                    {
                        "sequence": 1,
                        "researcherID": "480926",
                        "prefix": "ดร.",
                        "researcherName": "นพรัตน์ คัคคุริวาระ",
                        "academicPosition": "รองศาสตราจารย์",
                        "position": "หัวหน้าชุดโครงการ",
                        "type": "Internal Researcher",
                        "workRatio": 50
                    },
                    {
                        "sequence": 2,
                        "prefix": "",
                        "researcherName": "เฮ",
                        "position": "ผู้ร่วมวิจัย",
                        "type": "External Researcher",
                        "workRatio": 30
                    },
                    {
                        "sequence": 3,
                        "prefix": "",
                        "researcherName": "โท",
                        "position": "ผู้ร่วมวิจัย",
                        "type": "External Researcher",
                        "workRatio": 20
                    }
                ],
                "category": "โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์",
                "background": "ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและ\r\nนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้ \r\n\r\n“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดล\r\nเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ 1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น \r\n\r\n“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ\r\n1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)\r\n2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็นSmart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง\r\n3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services\r\n4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง\r\n\r\nอุตสาหกรรมป่าไม้ก็จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Food, Agriculture and Bio Technology) โดยภาคป่าไม้จะต้องเติมเต็มวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาแล้วต่อยอดความรู้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น\r\n\r\nการป่าไม้แบบดั้งเดิมจะถูกผลักดันให้ไปสู่การป่าไม้สมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี จากเดิมทีส่วนมากเกษตรกรผู้ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจมักจะจำหน่ายไม้ให้อุตสาหกรรมปลายทางเพียงอึตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการกระจายการจำหน่ายวัตถุดิบไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า (Smart Forestry) เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น และโรงงานอุตสาหกรรมได้รับวัตถุดิบที่ตรงความต้องการ\r\n\r\nปัจจุบันยูคาลิปตัสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่อง จากราคาไม้ยูคาลิปตัสนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการของตลาด รัฐบาลได้มีการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วมากขึ้นเพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลายและรักษาความสมดุลตามธรรมชาติ และที่สำคัญเพื่อให้มีไม้ใช้สอยในครัวเรือนอย่างเพียงพอ และเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยไม่ต้องตัดไม่จากป่าธรรมชาติ ต้นยูคาลิปตัสถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย รวมทั้งมีการปลูกกันเป็นจำนวนมากเพื่ออุตสาหกรรมทำเป็นชิ้นไม้สับสำหรับผลิตแผ่นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด เยื่อและกระดาษ ดังนั้น หากมีระบบการจัดการที่ดีประกอบกับการใช้เทคโนโลยีร่วมกันอย่างเหมาะสม การปลูกต้นยูคาลิปตัสก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของประเทศ\r\n\r\nการรับซื้อไม้ท่อนยูคาลิปตัสของโรงงาน โดยทั่วไปราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ โดยไม้ยูคาลิปตัสที่มีขนาดเล็กจะขายได้ราคาที่ต่ำกว่าไม้ยูคาลิปตัสที่มีขนาดใหญ่ กอปรกับข้อจำกัดคุณลักษณะไม้ชนิดนี้ในการแปรรูป ทำเกษตรกรใช้ประโยชน์จากไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกขึ้นเป็นไม้ใช้สอยทำเครื่องเรือนได้อย่างจำกัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ไม้ยูคาลิปตัสจากสวนป่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากยิ่งขึ้น",
                "objective": "เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไม้ยูคาลิปตัส เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ไม้ได้อย่างคุ้มค่า และเกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น",
                "abstract": "ปัจจุบันโอกาสทางการตลาดของยูคาลิปตัสนั้นเติบโตเป็นอย่างมากและมีตลาดรับซื้อที่ชัดเจนและหลากหลาย เกษตรกรที่ปลูกไม้ยูคาลิปตัสสามารถตัดไม้ขายได้ตลอดทั้งปี ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด แต่การที่จะตัดสินใจว่าจะขายไม้ให้กับอุตสาหกรรมใดนั้นเกษตรกรยังขาดความรู้และข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะนำไม้ไปขายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งอุตสาหกรรมนั้นอาจจะอยู่ใกล้สวนป่ามากที่สุดแต่อาจจะไม่ได้ให้ราคาที่ดีที่สุดก็เป็นไปได้ และนี่คือการเสียโอกาสของเกษตรกรโดยที่เกษตรกรไม่รู้ตัว\r\n\r\nการวิจัยเรื่อง “บูรณาการการทอนไม้ยูคาลิปตัสเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสวนป่าเชิงพาณิชย์” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไม้ยูคาลิปตัส ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และ 2) เพื่อให้เกษตรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม้ตามขนาดที่ต้องการ ผลจากการศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อเพิ่มความตระหนักให้แก่เกษตรกรให้รับทราบถึงทางเลือกในการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลการศึกษานี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อไป\r\n",
                "referenceUrl": "",
                "status": "Active"
            }
        }
    ]
}