https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/
URL: https://research.ku.ac.th/kurdi-api/api/v1/projects/20176020011003
{ "totalResult": 1, "startPage": 1, "itemsPerPage": 1, "entry": [ { "projectDetail": { "forestUrl": "https://research.ku.ac.th/forest/Project.aspx?ProjectNumber=6020011003&BudgetYear=2017", "projectID": "20176020011003", "projectName": "การศึกษาผลกระทบจากการทำไม้ในสวนป่าสัก", "projectNameEn": "Study of Logging Impacts in a Teak Plantation", "source": { "name": "ทุนอุดหนุนวิจัยมก.", "type": "Internal" }, "budget": 0, "organization": { "orgID": "010405", "name": "ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์" }, "type": "โครงการย่อยในชุดโครงการ \"การศึกษาระบบการทำไม้เพื่อการจัดการสวนป่าสักอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา จังหวัดแพร่\"", "budgetYear": "2017", "startYear": "2017", "endYear": "2019", "head": "ดร.ขรรค์ชัย ประสานัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์", "team": [ { "sequence": 1, "researcherID": "560171", "prefix": "ดร.", "researcherName": "ขรรค์ชัย ประสานัย", "academicPosition": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์", "position": "หัวหน้าโครงการ", "type": "Internal Researcher", "workRatio": 60 }, { "sequence": 2, "researcherID": "500089", "prefix": "ดร.", "researcherName": "สุภัทรา ถึกสถิตย์", "academicPosition": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์", "position": "ผู้ร่วมวิจัย", "type": "Internal Researcher", "workRatio": 40 } ], "category": "โครงการวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์", "background": "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติคือการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุดและมีการสูญเสียน้อยที่สุด อาจหมายความรวมถึงการใช้แล้วมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ น้อยที่สุด ทรัพยากรป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ (renewable natural resources) ในประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกการทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แต่อย่างไรก็ตามความต้องการใช้ไม้ยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมการทำไม้ในปัจจุบันสามารถกระทำได้ในพื้นที่สวนป่าหรือป่าปลูก ป่าปลูกจึงมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ป่าปลูกถือเป็นแหล่งผลิตไม้ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรดินและน้ำ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ก่อให้เกิดการสร้างงานกับชุมชนท้องถิ่น และดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ (Savill et al. 1997; Siry et al. 2001; Carle et al. 2002; Evans and Turnbull 2004) การทำไม้นั้นมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของวิธีการทำไม้ และระบบการทำไม้ (อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล) ดังนั้นผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมย่อมส่งผลแตกต่างกัน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำไม้ในรูปแบบที่แตกต่างกันของสวนป่า เพื่อให้สวนป่ายังได้ประโยชน์สูงต่อการจัดการสวนป่าแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือที่เรียกว่าการลดผลกระทบจากการทำไม้ ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาตัวอย่างการทำไม้ในสวนป่าสักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่มีรูปแบบการทำไม้ในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันและทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการสวนป่าในอนาคตต่อไป", "objective": "1. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการทำไม้ในพื้นที่สวนป่าสักต่อสิ่งแวดล้อมขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้\r\n2. เพื่อหารูปแบบการทำไม้ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในพื้นที่สวนป่าสัก\r\n", "abstract": "ปัจจุบันการส่งออกไม้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผลผลิตต้องมาจากสวนป่าที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าซึ่งในปัจจุบันให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น จังหวัดแพร่ มีอุตสาหกรรมไม้สักเป็นจุดเด่นของจังหวัด ไม้สักส่วนใหญ่มาจากพื้นที่สวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ และมีภารกิจในด้านการปลูกสวนป่า คุ้มครองป่า บูรณะและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้\r\nโครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบจากการทำไม้ในสวนป่าสัก มุ่งเน้นผลต่อสิ่งแวดล้อม ใน 4 ด้านคือ คุณภาพของน้ำ สมบัติกายภาพของดิน ความหลากหลายของพืชและสัตว์ป่า โดยการวางแปลงสำรวจในพื้นที่ 4 สวนป่าในจังหวัดแพร่ เป้าหมายเพื่อการเลือกรูปแบบการทำไม้ที่เหมาะสม ให้ได้ปริมาตรไม้ตามเป้าหมายการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สวนป่าให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ผลการศึกษายังอยู่ระหว่างการดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล\r\n", "referenceUrl": "", "status": "Active" } } ] }