Search Result of "Tharmmasak Sommartaya"

About 2 results
Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : Morphology Development and Pathogenicity of Downy Mildew Fungus of Dichanthium caeicosum (Linn.) A. Camus.)

ผู้เขียน:ImgPranee Watanavanich, Imgนายอุดม ภู่พิพัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ImgTharmmasak Sommartaya, ImgKitti Choonhawongse, Imgดร.จิระเดช แจ่มสว่าง, รองศาสตราจารย์

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

โรคราน้ำค้างของข้าวโพดในประเทศไทย เกิดจากเชื้อรา Sclerospora sorghi Weston & Uppal โรคนี้สามารถลดผลิตผลในแปลงข้าวโพดของกสิกรได้ 88.5 เปอร์เซ็นต์ (7) ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับอยู่ข้ามฤดูของเชื้อบนพืชอาศัยชนิดต่าง ๆ กว่า 90 ชนิด พบว่ามี teosinte (Euchlaena Mexicana Schrad) และข้าวฟ่างเท่านั้นที่เกิดโรคราน้ำค้างได้ (1) ต่อมา ธรรมศักดิ์ สมมาตย์ ได้สำรวจพบโรคราน้ำค้างบนหญ้าหนวดเจ้าชู้หรือหญ้าแหวน (Dichantium caricosum (Linn.) A. Camus) เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในเขตตำบลบ้านนาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ท้องที่ที่พบโรคนี้เป็นนาข้าว ซึ่งได้รับคำบอกเล่าจากกสิกรว่า เดิมในบริเวณตำบลบ้านาน้อยเคยปลูกข้าวโพดกันมาก่อน แต่ได้รับความเสียหายจากโรคราน้ำค้างมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนมาปลูกข้าวแทน จึงได้ข้อคิดว่า โรคราน้ำค้างที่พบบนหญ้าหนวดเจ้าชู้นี้ อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคราน้ำค้างแก่ข้าวโพดก็ได้ดังนั้น จึงมุ่งศึกษารายละเอียดบางประการของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคราน้ำค้างของหญ้าดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่า โรคที่พบกับหญ้าและข้าวโพดนั้น เกิดจากเชื้อสาเหตุชนิดเดียวกันหรือไม่ อันจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดโรคนี้ต่อไป

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 010, Issue 1, Jan 76 - Jun 76, Page 25 - 31 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : Seed Transmission of Sclerospora sorghi (Weston & Uppal) the Downy Mildew of Corn in Thailand )

ผู้เขียน:ImgTharmmasak Sommartaya, Imgนายอุดม ภู่พิพัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ImgSiriphong Intrama, ImgB.L. Renfro

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

โรคราน้ำค้างของข้าวโพดในประเทศไทย เกิดจากเชื้อรา Selerospora sorghi Weston & Uppal โรคนี้พบระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2510 ในท้องที่จังหวัดนครสสรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดใหญ่แห่งหนึ่ง และพบว่ามีการระบาดมากขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวโพดถึง 24 จังหวัดด้วยกัน (11) เนื่องจากโรคนี้เป็นปัญหาสำคัญในการผลิตข้าวโพดของประเทศ คือสามารถลดผลผลิตในแปลงข้าวโพดที่เป็นโรคของกสิกรได้ถึง 88.5 เปอร์เซ็นต์ (11) และโรคนี้ไม่สามารถป้องกันกำจัดโดยกสรใช้สารเคมีใดๆ (14) ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา และพยายามที่จะป้องกันกำจัดโรคให้ได้ผลโดยวิธีทางโรคพืชวิทยา คือการดำรงชีพตลอดจนชีพจักรของเชื้อ สภาพการณ์อยู่ข้ามฤดูที่สามารถทำให้เกิดโรคระบาดในฤดูปลูกต่อมา ซึ่ง อุดม ภู่-พิพัฒน์ และคณะ (11) ค้นพบว่ามีอยู่หลายกรณีด้วยกัน เช่น ในปี พ.ศ. 2516 พบว่าข้าวฟ่างหลายสายพันธุ์ ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เป็นโรคราน้ำค้าง บนใบที่เป็นโรคจะแห้ง และแตกออกตามเส้นใบ มี conidia เกิดขึ้นด้วย (11)

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 009, Issue 1, Jan 75 - Jun 75, Page 12 - 25 |  PDF |  Page